หากประเทศใดที่อ้างว่าใช้ระบอบประชาธิปไตย แต่ไม่เคยสอนให้คนในชาติรู้ถึง หัวใจของประชาธิปไตยคืออะไร?
ประเทศนั้นๆ ย่อมไม่มีทางเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริงได้
ซึ่ง หัวใจของประชาธิปไตย โดยแท้จริง ก็คือ การยึดถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
หากคุณยังเห็นแก่ตัวมาก ๆ เช่น หนีภาษี เลี่ยงภาษี ขับรถผิดกฎจราจร วางของเกะกะทางเท้า นี่ก็คือการเห็นแก่ตัว ซึ่งไม่ใช่วิถีของคนรักประชาธิปไตยอีกแบบหนึ่ง
ฉะนั้น การมีประชาธิปไตย จึงหมายถึง เห็นแก่ประโยชน์แห่งสังคมส่วนรวมเป็นหลัก คิดทำอะไรต้องนึกถึงสังคม และประเทศชาติ ต้องมาก่อน!!
และต้องไม่นำผลประโยชน์ของคนจำนวนมากมาเอาเปรียบรังแกผลประโยชน์ของคนส่วนน้อย
หากผู้คนส่วนใหญ่ในชาติยังเห็นแก่ตัว เห็นแก่ญาติพี่น้อง เห็นแก่วงศ์ตระกูล เห็นแก่พวกพ้อง มากกว่าชาติบ้านเมือง
แบบนี้เขาเรียกว่า ยังไม่มีจิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตยครับ
ฉะนั้น จุดเริ่มต้นของประชาธิปไตยที่แท้จริง ก็คือ ต้องเห็นแก่ประโยชน์ของสังคมส่วนใหญ่มากกว่าส่วนตน
ฉะนั้นถ้าไม่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตยในประชาชนแล้วล่ะก็ การเลือกตั้งก็เป็นได้แค่ เลือกคนที่เห็นแก่ตัว เข้ามาทำงานเพื่อตัวเอง มากกว่าเพื่อชาติบ้านเมือง
ส่วนคำว่า ประชาธิปไตย ตามที่ฟายแดง รับรู้ ก็คือ การเลือกตั้ง และเสียงส่วนใหญ่
แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่ฟายแดงไม่รู้คือ จิตวิญญาณแห่งประชาธิปไตย (หรือหัวใจประชาธิปไตย)
แล้วจิตวิญญาณประชาธิปไตยคืออะไร??
คำตอบก็คือ การเห็นแก่ส่วนรวมมากกว่าส่วนตนไงครับ ซึ่งไม่ใช่มีแต่การเลือกตั้ง หรือเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของตนเท่านั้น
คนที่มีประชาธิปไตย ต้องรู้จักการทำหน้าที่พลเมืองที่ดี ก่อนนึกถึงแต่สิทธิเสรีภาพของตนเอง เพราะการใช้แต่สิทธิ แต่ไม่ทำหน้าที่ ก็ได้ชื่อว่า นั่นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยแท้จริงเช่นกัน
อย่างเช่น ถ้าคุณยึดทางเท้าชั่วกัปชั่วกัล อ้างว่าจน ไม่มีที่ทำกิน ขายของบนทางเท้าไปชั่วลูกชั่วหลาน แบบนี้ก็เรียกได้ว่า ไม่มีจิตวิญญาณประชาธิปไตย ครับ
ทำไมผมถึงว่าเช่นนั้น?
เพราะทางเท้าคือทางสาธารณะ ไม่ใช่ของคนใดคนหนึ่งหรือครอบครัวใดครอบครัวหนึ่ง หากคุณยึดทางเท้าไว้ใช้ประโยชน์ส่วนตนตลอดกาล แถมไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อส่วนรวม นั่นก็คือความเห็นแก่ตัว ไม่ได้เห็นแก่ส่วนรวม ซึ่งเท่ากับว่า ไม่ใช่คนที่มีหัวใจประชาธิปไตยที่แท้จริง
หรือคนที่มีหัวใจประชาธิปไตยในชาติที่เจริญแล้ว เขาจะนึกถึงผู้ด้อยโอกาสกว่าในสังคม หรือผู้ด้อยโอกาสกว่าย่อมมาก่อนเสมอ เช่น ถ้าคุณขับรถ คุณเห็นจักรยานขี่อยู่ข้างทาง แต่อาจเกะกะคุณบ้าง เพราะถนนมันแคบ คุณบีบแตรไล่รถจักรยานให้หลบไปมากๆ นั่นก็เท่ากับว่า คุณไม่มีหัวใจประชาธิปไตยแล้วครับ เพราะจักรยานเขาก็มีสิทธิบนถนนเช่นกัน
ที่เห็นชัดที่สุด คือการอำนวยความสะดวกให้แก่คนพิการ เช่นทางสาธารณะสำหรับคนพิการ หรือห้องน้ำสำหรับคนพิการ และที่ลืมไม่ได้อีกอย่างก็คือ การรับคนพิการเข้าทำงานจำนวนไม่ต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด แต่ความจริงจะมีธุรกิจสักกี่แห่งที่ปฏิบัติตามกฎหมายนี้ ? นี่ก็แสดงให้เห็นว่า เรายังห่างไกลคำว่าหัวใจประชาธิปไตย
หรืออย่างเช่น รัฐบาลชอบสร้างสะพานลอยมากๆ ให้่คนเดินเท้าซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ต้องลำบากเดินข้ามสะพานลอย เพราะรัฐบาลให้ความสำคัญแก่คนจำนวนน้อยที่ขับรถมากกว่า นั่นก็ไม่ใช่ประชาธิปไตยที่แท้จริงเช่นกันครับ
ประเทศที่เจริญแล้ว คนเดินถนนเป็นใหญ่ อยากจะข้ามถนนตรงทางม้าลาย ก็ข้ามได้ทันที โดยแทบไม่ต้องมองรถด้วยซ้ำ รถยนต์มีหน้าที่ต้องหยุดให้คนข้ามก่อน ประเทศไหนเป็นแบบนี้ แสดงว่า คนในประเทศนั้นเข้าถึงหัวใจประชาธิปไตยได้มากแล้ว
อย่างเช่นที่ เวียดนาม ที่บอกว่า เขาเป็นคอมมิวนิสต์ แต่เขากลับมีหัวใจประชาธิปไตยมากกว่าคนไทยเราเสียอีก เช่น การเดินข้ามถนนในเวียดนาม คนเดินข้ามไม่ต้องกลัวรถจะชนมากเท่ากับคนขับรถต่างหากที่ต้องคอยระวังคนข้ามถนน
แต่คนไทยที่เคยไปเที่ยวเวียดนามกลับไม่กล้าข้ามถนน เพราะกลัวการจราจรที่วุ่นวายมากในเวียดนามจะมาชน ในขณะที่คนเวียดนามกลับเดิมดุ่ม ๆ ข้ามถนนได้อย่างง่ายดาย
-----------------
คนจำนวนมาก คิดแค่ว่า ฉันไปเลือกตั้ง ก็เท่ากับฉันมีประชาธิปไตยแล้ว ซึ่งนั่นเป็นความคิดที่ผิดมาก ๆ
เพราะการเลือกตั้ง เป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ยังไม่ใช่ประชาธิปไตยทั้งหมด เพราะทุกระบอบการปกครอง ก็มีการเลือกตั้งด้วยกันทั้งนั้น (เช่นที่ประเทศจีนก็มีการเลือกตั้ง คนที่จะเข้าไปในสภาคอมมิวนิสต์ได้ ต้องผ่านเลือกตั้งจากสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศมาแล้ว)
หากไปเลือกตั้ง โดยที่ไม่คำนึงถึงประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก เราก็จะมีประชาชนที่เห็นแก่อามิสสินจ้างออกไปเลือกตั้ง
ซึ่งอามิสสินจ้างไม่ได้หมายถึงแค่การซื้อสิทธิขายเสียงเท่านั้น แต่ประชานิยมแบบโง่ๆ เช่น พรรคการเมืองบอกจะแจกนั่นแจกนี่ หากเขาได้เป็นรัฐบาล นั่นก็เท่ากับว่า คนที่ออกไปเลือกตั้งพรรคนั้นๆ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน โดยไม่คำนึงถึงว่า ผลกระทบจากประชานิยมแบบผิดๆ นั้น จะมีผลกระทบเสียหายตามมาต่อชาติบ้านเมืองอย่างไร
การเลือกตั้งเช่นนั้น จึงไม่ใช่การเลือกตั้งที่เป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริงเช่นกัน ครับ
--------------------------
อธิบายเสริม
เช่นหาเสียงว่า ค่าแรง300บาทเอามั้ยค้า? หรือ เงินเดือนปริญญาตรีหมื่นห้า เอามั้ยค้า?
นี่คือการซื้อเสียงด้วยนโยบาย ซึ่งหากสังคมตอนนี้มีเจ้าหน้าที่บ้านเมืองที่มีคุณธรรมอยู่ ป่านนี้พรรคการเมืองที่หาเสียงแบบนี้ ต้องโดนกฎหมายเลือกตั้งเล่นงาน ในความผิด สัญญาว่าจะให้แล้วครับ
หรือเรื่องหาบเร่แผงลอย ผมไม่ได้ห้ามถ้าใครจะขายหาบเร่ในที่เขาอนุญาตให้ขาย แต่ผมติงว่า พื้นที่สาธารณะที่อนุโลมให้ขาย ก็ควรให้กับคนที่หมดทางทำกิน หรือเดือดร้อนด้วยสาเหตุฉุกเฉิน เช่นบ้านไฟไหม้ เป็นต้น
การขายบนทางสาธารณะถ้าจะอนุโลมให้ขายในบางแห่ง ก็ควรขายแต่แค่พอเก็บเงินได้สักระยะ แล้วต้องไปหาขยับขยายไปหาที่ทางที่ถูกต้องเช่นตลาดนัด ตลาดสด ไปขายต่อไป
ไม่ใช่พ่อค้าแม่ค้าหาบเร่รายเดิมๆ ยึดทางสาธารณะขายของตัวเองไปเป็นสิบปียี่สิบปี จนรวยก็ไม่ไปหาที่ทางอื่นขายแทน แถมตัวเองเลิกขายก็ให้ญาติพี่น้องลูกหลานมาขายต่ออีก เรียกว่ายึดทางสาธารณะเป็นของครอบครัวตัวเอง แบบนี้ไม่ถูกต้อง
ที่ถูกต้องคือพอขายได้สักระยะ ก็ควรเปิดทางให้คนอื่นที่เขาเดือดร้อนกว่าได้เข้ามาขายบ้าง
คลิกอ่าน เมื่อประชาธิปไตยไม่เท่ากับการเลือกตั้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น