วันพุธที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559

"ชีวิตใหม่" โฆษณาระดับมาสเตอร์พีซของต่อ ฟีโนมีน่า ทิ้งท้ายปี 2559






จากโฆษณาไทยประกันชีวิต ชุด โอกาส ที่เพิ่งออกอากาศได้ไม่นาน ซึ่งเป็นผลงานของคุณต่อ ธนญชัย ศรศรีวิชัย มือหนึ่งในวงการโฆษณาของไทยจากบริษัทฟีโนมีน่า

ที่ตอนนี้โฆษณาชุดโอกาส นี้ได้กลายเป็นโฆษณาที่หมดโอกาสจนถูกถอดออกอากาศไปแล้ว เนื่องจากเกิดกระแสต่อต้านโฆษณาที่ว่า เป็นการดูถูกวิชาชีพการพยาบาล

โฆษณาไทยประกันชีวิต ชุด โอกาส จึงกลายเป็นผลงานที่ดิสเครดิตชื่อเสียงคุณต่อ ธนญชัย ไปพอสมควร

แต่ในช่วงเวลาเดียวกันนี่เอง ก็มีผลงานโฆษณาที่เรียกว่า ระดับมาสเตอร์พีซ ของคุณต่อ ฟิโนมีน่า อีกตัว ที่ได้เรียกชื่อเสียงฝีมือระดับเทพของคุณต่อ ฟีโนมีน่า กลับคืนมา

นั่นก็คือ ผลงานโฆษณาเงินติดล้อ ชุด ชีวิตใหม่ ของ บ.ศรีสวัสดิ์ พาวเวอร์ 1979 ที่ได้สร้างความประทับใจอย่างมากแก่ผู้ชมที่ได้ดูโฆษณาชุดนี้



ผลงานโฆษณาชุด ชีวิตใหม่ ของคุณต่อฟีโนมีน่า เรื่องนี้เรียกได้ว่า แตกต่างตรงกันข้ามกับโฆษณาชุด โอกาส ของไทยประกันชีวิต โดยสิ้นเชิง

เพราะโฆษณาไทยประกันชีวิต ชุด โอกาส เป็นการยกย่องผลิตภัณฑ์สินค้าประกันชีวิตของตัวเอง และเชิดชูพนักงานขายประกันชีวิตของตัวเองจนเว่อร์ แต่กลับกลายเป็นการไปทำลายวิชาชีพอื่นแทน จนเกิดกระแสต่อต้านโฆษณาชุดโอกาส จนไทยประกันชีวิตต้องถอดโฆษณาชุดนี้ออกไป รวมทั้งลบโฆษณาชุดนี้ออกจากช่องยูทูปของไทยประกันชีวิตออกไปแล้ว

-----------------

ในขณะที่โฆษณาเงินติดล้อ ชุด ชีวิตใหม่ กลับดูจริงใจกว่า จากที่บริษัทศรีสวัสดิ์ทำโฆษณาดี ๆ ตลก แอคชั่น เร้าใจ ออกมาหลายชุด เจตนาก็เพื่อจะหาลูกค้ามากู้เงินจากศรีสวัสดิ์กันเยอะ ๆ

ไคลแมกซ์ของโฆษณาเงินติดล้อ ชุด ชีวิตใหม่ กลับฉีกแนวแบบสุด ๆ ก็คือ แทนที่โฆษณาจะกระตุ้นให้คนอยากมากู้เงินบ่อย ๆ

แต่โฆษณาชุดชีวิตใหม่ กลับกระตุ้นให้ลูกค้าเงินกู้ (หรือจะเป็นแค่ผู้ชมโฆษณาเท่านั้น) ได้ลองคิดใหม่ ลองหันมาพึ่งพาตนเองให้ได้ตามแนวทางวิถีพอเพียง ลองหาอาชีพใหม่ที่ชอบเพื่อสร้างรายได้ แล้วสามารถยืนได้บนลำแข้งตัวเอง จะได้ไม่ต้องมากู้เงินกับบริษัทเงินกู้อีก จนเป็นหนี้ไม่รู้จบ

นี่คือ โฆษณาที่ฉีกแนวคิดทั้งปวง คือ แทนที่จะยกยอผลิตภัณฑ์สินค้าตัวเอง เพื่อให้คนมาใช้บริการผลิตภัณฑ์ของตัวเองกันเยอะ ๆ ใช้แล้วก็ยังอยากกลับมาใช้ใหม่ หรือ กลับมากู้เงินใหม่

แต่คุณต่อ ฟิโนมีน่า กลับคิดย้อนแย้งกลับในเชิงบวกว่า ลูกค้าเงินกู้ควรนำเงินที่กู้ไปใช้เพื่อสร้างอาชีพให้ตัวเองอยู่รอดได้บนลำแข้งตัวเอง จะได้ไม่ต้องกลับมากู้เงินกับบริษัทเงินกู้ (เช่น บ.ศรีสวัสดิ์) อีก

นี่จึงเป็นผลงานโฆษณาที่คิดนอกกรอบ ใช้ความย้อนแย้งของผลิตภัณฑ์เงินกู้ มาสอนให้คนไทยพึ่งพาตนเองให้ได้ จะได้ไม่ต้องมากู้เงินซ้ำอีก

นี่คือแนวคิดวิถีพอเพียงที่ยั่งยืน ที่คนไทยทุกคนควรตระหนักให้มาก นั่นคือ ยืนบนลำแข้งตัวเองให้ได้ จะได้ไม่เป็นหนี้!!



ขอบคุณโฆษณาดี ๆ ของคุณต่อ ฟีโนมีน่า ชุด ชีวิตใหม่ จาก บ.ศรีสวัสดิ์เงินติดล้อ ครับ

เรียกได้ว่า จากโฆษณาที่ผิดพลาดในชุด โอกาส ของไทpประกันชีวิต คุณต่อ ฟีโนมีน่า ก็กลับเรียกฟอร์มเก่งสุดยอดคืน ด้วยโฆษณาเงินติดล้อ ชุด ชีวิตใหม่ มาได้ทันที

สุดยอด !!

ขอทิ้งท้ายด้วยคำพูดช่วงท้ายของโฆษณาชุดนี้ ที่ว่า

"ทำแบบตั้งหน้าตั้งตาตะบี้ตะบัน แล้วทำมันให้ถึงที่สุด... ทำจนกระทั่งถึงวันนึง วันที่คุณเป็นอิสระ และเมื่อวันนั้นมาถึง เราไม่อยากให้คุณกลับมาหาเราอีก"

คลิกอ่าน โฆษณาไทยประกันชีวิต ชุด โอกาส ดันตกม้าตายตอนจบ




วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ความโง่ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์






ประเด็นปัญหาเรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น พวกล้มเจ้าอย่างนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มักจะตีความตามมาตรา 6 ของ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 ตรงประโยคที่ีว่า

"รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ....."

ตรงประโยคนี้เองที่หงอกเจียม พยายามจะโจมตีว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพราะมีพระราชอำนาจใช้สอยได้ตามพระราชอัธยาศัยไม่ว่ากรณีใด ๆ

ก่อนอื่นเรามาดูมาตรา 6 พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 เขียนเต็ม ๆ ก่อนครับ

“มาตรา ๖ รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา ๕ วรรคสองนั้น จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพันรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอยเงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น

รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัยไม่ว่าในกรณีใดๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น”


การตีความในมาตรา 6 นั้น ต้องตีความว่า หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างต่าง ๆ ไปแล้ว และยังเหลือกำไรอยู่  ทรัพย์หรือเงินส่วนกำไรนี้ในหลวงจึงจะทรงนำไปใช้สอยอะไรก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย หรือหากช่วงนั้นมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หากจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ ก็ต้องนำไปใช้เกี่ยวกับการพระราชกุศลที่เป็นประโยชย์ต่อสาธารณะ หรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีเท่านั้น

คุณผู้อ่านครับ พอมองออกรียังว่า กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อน หากมีเหลือ ถึงจะมอบให้พระมหากษัตริย์ไปใช้สอยใดก็ได้

ถามว่า แล้วหากปีนั้นขาดทุนล่ะ ?
ก็แสดงว่า ไม่มีเงินเหลือให้ใช้ตามพระราชอัธยาศัย ใช้หรือไม่ ?

แต่เผอิญ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริหารจัดการดีจึงมีกำไรเหลือ แต่หากยกให้นักการเมืองบริหารดูแล ก็อาจเจ๊งขาดทุนจนอาจถูกขายทอดตลาดในยุคต้มยำกุ้งไปแล้วก็ได้ จริงไหม?

การที่พระมหากษัตริ์มีพระราชอำนาจในการตัดสินใจว่า เงินหรือทรัพย์ที่เหลือเป็นกำไรในแต่ละปีนั้น จะนำไปใช้อะไรตามพระราชอัธยาศัยได้นั้น ไม่เห็นจะผิดหรือแปลกตรงไหน

ใครทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ก็ได้รับสิทธินี้ทุกพระองค์ มีพระราชอำนาจโดยตำแหน่งพระมหากษัตริย์ นี่มันทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ตกทอดมาตั้งแต่โบราณกาล

ในหลวงแค่มีพระราชอำนาจตัดสินในทรัพย์ที่เหลือเป็นกำไรส่วนนี้เท่านั้น ถ้าปีไหนกิจการขาดทุนก็ไม่มีเงินให้ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย

เพียงแค่นี้ ไอ้หงอกเจียมก็ตีความด้วยอคติ ว่า ในหลวงเป็นเจ้าของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปแล้ว หงอกเจียมนี่ชั่งอคติจริง ๆ

ผมเคยยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น เสี่ยตัน อิชิตัน เป็นเจ้าของบริษัทอิชิตัน เสี่ยตันสามารถตัดสินใจนำอิชิตันเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ หรือก่อนหน้านั้น สมัยเสี่ยตันยังเป็นเจ้าของโออิชิ เสี่ยตันก็ตัดสินขายโออิชิให้กลุ่มเจ้าสัวเจริญได้ นั่นเพราะเสี่ยตันเป็นเจ้าของจริง ๆ จึงตัดสินใจทำได้

แต่พระมหากษัตริย์ จะนำ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปเข้าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ได้ไหม ?

หรือในหลวงสามารถนำพระตำหนักจิตรลดาฯ ไปขายได้ไหม ? คิดสิคิด

ก็ทรงทำไม่ได้ เพราะมีกฎหมายกำหนดไว้แล้วว่า พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจแค่ไหนในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

และที่ผ่านมา สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็สนับสนุนมูลนิธิต่าง ๆ ของในหลวง สนับสนุนโครงการตามพระราชดำริมากมาย

ผมอยากให้ดูมาตรา 7 ต่ออีกนิด

“มาตรา ๗ ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๖ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีบทกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น”


--------------------------

ส่วนรูปต่อไปนี้ คือ ส่วนหนึ่งที่หงอกเจียมโพสไว้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2559




กรณีเงินให้หม่อมศรีรัศมิ์ นั้น หงอกเจียม มันตีความว่า คือข้อชี้ชัดว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของในหลวง

แต่ผมกลับมองต่าง เพราะผมมองว่า กรณีเงินให้หม่อมศรีรัศมิ์ ยิ่งแสดงให้เห็นว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ของในหลวง

เพราะอะไรรู้ไหม ?

กว่าที่ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะนำเงินกำไรที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายแล้วในแต่ละปี ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัยได้นั้น ก็ต้องรอสรุปบัญชีปลายปี   หากปีไหนขาดทุนก็ไม่มีให้ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย (แต่ปกติ ผอ.สนง. เขาบริหารดีมีกำไร)

หากปีไหนในหลวงทรงไม่ได้รับสั่งให้นำรายได้ที่เหลือนี้ไปใช้ในการใด หรือนำไปใช้แล้วแต่ไม่หมด กำไรที่เหลือส่วนนั้นก็กลับคืนสู่ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นส่วนใหญ่

แต่เมื่อเกิดกรณี เงิน 200 ล้านบาทมอบให้หม่อมศรีรัศมิ์ เป็นกรณีที่เกิดขึ้นกลางปี ดังนั้น ในหลวงทรงต้องขอเบิกเงินล่วงหน้าก่อน เพื่อมอบให้หม่อมศรีรัศมิ์ โดยทรงขอผ่านทางนายกรัฐมนตรี

เพราะนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง มีอำนาจอนุมัติตามมาตรา 9 พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491

"มาตรา 9 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ร่วมกันเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ บังคับเป็นกฎหมายได้"

นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อนำเงินจาก สนง.ทรัพย์์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปใช้สอยเพื่อสาธารณะประโยชน์ (นอกเหนือจากกรณีใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย)

แต่กรณีเบิกล่วงหน้า  เงินมอบให้หม่อมศรีรัศมิ์ รมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็มีอำนาจอนุมัติได้ (โดยไม่ต้องออกฎหมาย)

เห็นไหมครับ ทุกอย่างมีกฎหมายกำหนดการใช้เงินของพระมหากษัตริย์ไว้แล้วทั้งสิ้น

การจะมาตีความว่า ตามพระราชอัธยาศัย แปลว่า ในหลวง ร.9 เป็นเจ้าของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นการตีความโดยอคติแท้ ๆ

การตีความที่ถูกต้องคือ ใครได้เป็นพระมหากษัตริย์ไทย ก็มีพระราชอำนาจควบคุมดูแล สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ถึงจะถูกต้อง

หากในหลวงทรงเป็นเจ้าของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จริง ๆ ในหลวงทรงสั่งไปที่ ผอ.สนง. โดยตรง ให้จ่ายเงินให้หม่อมศรีรัศมิ์ไปแล้วง่าย ๆ ไม่ต้องมาผ่านทางนายกรัฐมนตรีก่อนให้ยุ่งยากจนเป็นข่าวดัง

หากคนมันมีอคติ มันก็จะตีความว่า ในหลวงสั่งนายกรัฐมนตรีไปจัดการ แสดงว่า ในหลวงเป็นเจ้าของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ที่จริงตามหลักกฎหมาย การที่ในหลวงทรงขอเบิกเงิน 200 ล้านบาทก่อนล่วงหน้าเพื่อให้หม่อมศรีรัศมิ์นั้น นายกรัฐมนตรีสามารถจะปฏิเสธในหลวงก็ได้ครับ เพราะเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี 

เช่น นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ต้องทำอะไรตามที่ทรงขอ แล้วก็รอสิ้นปีให้ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นำเงินกำไรที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแต่ละปีแล้ว ขึ้นทูลเกล้าให้ในหลวงตอนนั้นก็ได้ ในหลวงทรงค่อยนำไปให้หม่อมศรีรัศมิ์อีกที

แต่นายกรัฐมนตรี ก็รู้ว่า การที่ในหลวงทรงขอเบิกก่อนล่วงหน้านั้น ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรในทางบัญชี ตอนสรุปรายรับรายจ่ายของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ปลายปี

นายกรัฐมนตรีจึงไม่มีเหตุจำเป็นอะไรที่จะต้องปฏิเสธตามที่ในหลวงทรงขอมา

คลิกอ่าน เงินพระราชทาน 200 ล้านบาทให้หม่อมศรีรัศมิ์ ตอกย้ำ ในหลวงไม่ใช่เจ้าของสนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

คลิกอ่าน สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ของในหลวงภูมิพล