วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ความโง่ของสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล กรณีสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์






ประเด็นปัญหาเรื่องสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั้น พวกล้มเจ้าอย่างนายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล มักจะตีความตามมาตรา 6 ของ จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 ตรงประโยคที่ีว่า

"รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัย ไม่ว่าในกรณีใด ๆ....."

ตรงประโยคนี้เองที่หงอกเจียม พยายามจะโจมตีว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นของในหลวง รัชกาลที่ 9 เพราะมีพระราชอำนาจใช้สอยได้ตามพระราชอัธยาศัยไม่ว่ากรณีใด ๆ

ก่อนอื่นเรามาดูมาตรา 6 พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491 เขียนเต็ม ๆ ก่อนครับ

“มาตรา ๖ รายได้จากทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ที่กล่าวในมาตรา ๕ วรรคสองนั้น จะจ่ายได้ก็แต่เฉพาะในประเภทรายจ่ายที่ต้องจ่ายตามข้อผูกพันรายจ่ายที่จ่ายเป็นเงินเดือน บำเหน็จ บำนาญ เงินรางวัล เงินค่าใช้สอยเงินการจร เงินลงทุน และรายจ่ายในการพระราชกุศล เหล่านี้เฉพาะที่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วเท่านั้น

รายได้ซึ่งได้หักรายจ่ายตามความในวรรคก่อนแล้ว จะจำหน่ายใช้สอยได้ก็แต่โดยพระมหากษัตริย์ตามพระราชอัธยาศัยไม่ว่าในกรณีใดๆ หรือโดยคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับการพระราชกุศลอันเป็นการสาธารณะหรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีบรรดาที่เป็นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เท่านั้น”


การตีความในมาตรา 6 นั้น ต้องตีความว่า หลังจากหักค่าใช้จ่ายทุกอย่างต่าง ๆ ไปแล้ว และยังเหลือกำไรอยู่  ทรัพย์หรือเงินส่วนกำไรนี้ในหลวงจึงจะทรงนำไปใช้สอยอะไรก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย หรือหากช่วงนั้นมีคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ หากจะนำเงินส่วนนี้ไปใช้ ก็ต้องนำไปใช้เกี่ยวกับการพระราชกุศลที่เป็นประโยชย์ต่อสาธารณะ หรือในทางศาสนาหรือราชประเพณีเท่านั้น

คุณผู้อ่านครับ พอมองออกรียังว่า กฎหมายกำหนดไว้ชัดเจนว่า ต้องหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ก่อน หากมีเหลือ ถึงจะมอบให้พระมหากษัตริย์ไปใช้สอยใดก็ได้

ถามว่า แล้วหากปีนั้นขาดทุนล่ะ ?
ก็แสดงว่า ไม่มีเงินเหลือให้ใช้ตามพระราชอัธยาศัย ใช้หรือไม่ ?

แต่เผอิญ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ บริหารจัดการดีจึงมีกำไรเหลือ แต่หากยกให้นักการเมืองบริหารดูแล ก็อาจเจ๊งขาดทุนจนอาจถูกขายทอดตลาดในยุคต้มยำกุ้งไปแล้วก็ได้ จริงไหม?

การที่พระมหากษัตริ์มีพระราชอำนาจในการตัดสินใจว่า เงินหรือทรัพย์ที่เหลือเป็นกำไรในแต่ละปีนั้น จะนำไปใช้อะไรตามพระราชอัธยาศัยได้นั้น ไม่เห็นจะผิดหรือแปลกตรงไหน

ใครทรงเป็นพระมหากษัตริย์ ก็ได้รับสิทธินี้ทุกพระองค์ มีพระราชอำนาจโดยตำแหน่งพระมหากษัตริย์ นี่มันทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี ตกทอดมาตั้งแต่โบราณกาล

ในหลวงแค่มีพระราชอำนาจตัดสินในทรัพย์ที่เหลือเป็นกำไรส่วนนี้เท่านั้น ถ้าปีไหนกิจการขาดทุนก็ไม่มีเงินให้ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย

เพียงแค่นี้ ไอ้หงอกเจียมก็ตีความด้วยอคติ ว่า ในหลวงเป็นเจ้าของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปแล้ว หงอกเจียมนี่ชั่งอคติจริง ๆ

ผมเคยยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่าย ๆ เช่น เสี่ยตัน อิชิตัน เป็นเจ้าของบริษัทอิชิตัน เสี่ยตันสามารถตัดสินใจนำอิชิตันเข้าตลาดหลักทรัพย์ได้ หรือก่อนหน้านั้น สมัยเสี่ยตันยังเป็นเจ้าของโออิชิ เสี่ยตันก็ตัดสินขายโออิชิให้กลุ่มเจ้าสัวเจริญได้ นั่นเพราะเสี่ยตันเป็นเจ้าของจริง ๆ จึงตัดสินใจทำได้

แต่พระมหากษัตริย์ จะนำ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไปเข้าซื้อขายตลาดหลักทรัพย์ได้ไหม ?

หรือในหลวงสามารถนำพระตำหนักจิตรลดาฯ ไปขายได้ไหม ? คิดสิคิด

ก็ทรงทำไม่ได้ เพราะมีกฎหมายกำหนดไว้แล้วว่า พระมหากษัตริย์มีพระราชอำนาจแค่ไหนในทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

และที่ผ่านมา สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ก็สนับสนุนมูลนิธิต่าง ๆ ของในหลวง สนับสนุนโครงการตามพระราชดำริมากมาย

ผมอยากให้ดูมาตรา 7 ต่ออีกนิด

“มาตรา ๗ ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๖ ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะโอนหรือจำหน่ายได้ก็แต่เพื่อประโยชน์แก่ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และโดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต หรือเพื่อสาธารณประโยชน์อันได้มีบทกฎหมายให้โอนหรือจำหน่ายได้เท่านั้น”


--------------------------

ส่วนรูปต่อไปนี้ คือ ส่วนหนึ่งที่หงอกเจียมโพสไว้เมื่อวันที่ 24 พ.ย. 2559




กรณีเงินให้หม่อมศรีรัศมิ์ นั้น หงอกเจียม มันตีความว่า คือข้อชี้ชัดว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นของในหลวง

แต่ผมกลับมองต่าง เพราะผมมองว่า กรณีเงินให้หม่อมศรีรัศมิ์ ยิ่งแสดงให้เห็นว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไม่ใช่ของในหลวง

เพราะอะไรรู้ไหม ?

กว่าที่ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จะนำเงินกำไรที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายแล้วในแต่ละปี ขึ้นทูลเกล้าฯ ให้ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัยได้นั้น ก็ต้องรอสรุปบัญชีปลายปี   หากปีไหนขาดทุนก็ไม่มีให้ใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย (แต่ปกติ ผอ.สนง. เขาบริหารดีมีกำไร)

หากปีไหนในหลวงทรงไม่ได้รับสั่งให้นำรายได้ที่เหลือนี้ไปใช้ในการใด หรือนำไปใช้แล้วแต่ไม่หมด กำไรที่เหลือส่วนนั้นก็กลับคืนสู่ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นส่วนใหญ่

แต่เมื่อเกิดกรณี เงิน 200 ล้านบาทมอบให้หม่อมศรีรัศมิ์ เป็นกรณีที่เกิดขึ้นกลางปี ดังนั้น ในหลวงทรงต้องขอเบิกเงินล่วงหน้าก่อน เพื่อมอบให้หม่อมศรีรัศมิ์ โดยทรงขอผ่านทางนายกรัฐมนตรี

เพราะนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง มีอำนาจอนุมัติตามมาตรา 9 พ.ร.บ.จัดระเบียบทรัพย์สินฝ่ายพระมหากษัตริย์ 2491

"มาตรา 9 ให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎกระทรวง ร่วมกันเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ กฎกระทรวงนั้น เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้ บังคับเป็นกฎหมายได้"

นายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง มีอำนาจออกกฎกระทรวงเพื่อนำเงินจาก สนง.ทรัพย์์สินส่วนพระมหากษัตริย์ไปใช้สอยเพื่อสาธารณะประโยชน์ (นอกเหนือจากกรณีใช้สอยตามพระราชอัธยาศัย)

แต่กรณีเบิกล่วงหน้า  เงินมอบให้หม่อมศรีรัศมิ์ รมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมการ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ก็มีอำนาจอนุมัติได้ (โดยไม่ต้องออกฎหมาย)

เห็นไหมครับ ทุกอย่างมีกฎหมายกำหนดการใช้เงินของพระมหากษัตริย์ไว้แล้วทั้งสิ้น

การจะมาตีความว่า ตามพระราชอัธยาศัย แปลว่า ในหลวง ร.9 เป็นเจ้าของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นการตีความโดยอคติแท้ ๆ

การตีความที่ถูกต้องคือ ใครได้เป็นพระมหากษัตริย์ไทย ก็มีพระราชอำนาจควบคุมดูแล สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตามที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ถึงจะถูกต้อง

หากในหลวงทรงเป็นเจ้าของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์จริง ๆ ในหลวงทรงสั่งไปที่ ผอ.สนง. โดยตรง ให้จ่ายเงินให้หม่อมศรีรัศมิ์ไปแล้วง่าย ๆ ไม่ต้องมาผ่านทางนายกรัฐมนตรีก่อนให้ยุ่งยากจนเป็นข่าวดัง

หากคนมันมีอคติ มันก็จะตีความว่า ในหลวงสั่งนายกรัฐมนตรีไปจัดการ แสดงว่า ในหลวงเป็นเจ้าของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ที่จริงตามหลักกฎหมาย การที่ในหลวงทรงขอเบิกเงิน 200 ล้านบาทก่อนล่วงหน้าเพื่อให้หม่อมศรีรัศมิ์นั้น นายกรัฐมนตรีสามารถจะปฏิเสธในหลวงก็ได้ครับ เพราะเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรี 

เช่น นายกรัฐมนตรี ก็ไม่ต้องทำอะไรตามที่ทรงขอ แล้วก็รอสิ้นปีให้ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ นำเงินกำไรที่เหลือจากหักค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในแต่ละปีแล้ว ขึ้นทูลเกล้าให้ในหลวงตอนนั้นก็ได้ ในหลวงทรงค่อยนำไปให้หม่อมศรีรัศมิ์อีกที

แต่นายกรัฐมนตรี ก็รู้ว่า การที่ในหลวงทรงขอเบิกก่อนล่วงหน้านั้น ก็ไม่น่ามีปัญหาอะไรในทางบัญชี ตอนสรุปรายรับรายจ่ายของ สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ปลายปี

นายกรัฐมนตรีจึงไม่มีเหตุจำเป็นอะไรที่จะต้องปฏิเสธตามที่ในหลวงทรงขอมา

คลิกอ่าน เงินพระราชทาน 200 ล้านบาทให้หม่อมศรีรัศมิ์ ตอกย้ำ ในหลวงไม่ใช่เจ้าของสนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

คลิกอ่าน สนง.ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ไม่ใช่ของในหลวงภูมิพล




1 ความคิดเห็น: