วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สาเหตุวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 ใครคือต้นเหตุวิกฤติต้มยำกุ้ง






วิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งคนส่วนใหญ่รู้ดีว่าเกิดจากการที่ไทยเราถูกโจมตีค่าเงินบาท

รัฐบาลชวลิตและธนาคารแห่งประเทศไทย พยายามจะรักษาค่าเงินบาทไม่ให้ผันผวนให้คงอยู่ที่ 25 บาทต่อดอลล่าห์สหรัฐ จนทำให้เงินคงคลังและทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศของไทยเราแทบหมด จนทำให้ต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด

แต่สาเหตุที่คนส่วนใหญ่รู้เป็นแค่สาเหตุที่มาถึงจุดระเบิดของวิกฤติ 40 เท่านั้น แต่ความจริงแล้ว ต้นเหตุของวิกฤติ 40 มันมีที่มาที่ไป สะสมจนเป็นดินพอกหางหมูมาก่อนหน้านั้นประมาณ 7 ปีมาแล้ว

เริ่มตั้งแต่สมัยรัฐบาลชาติชาย ที่เป็นยุคบูมที่สุดของเศรษฐกิจไทยครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์บูมมาก ที่ดินมีราคาแพงขึ้นเรื่อย ๆ มีเงินจากต่างชาติเข้าลงทุนมากมายตามนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบ ให้เป็นสนามการค้า"

และเมื่อมีเงินลงทุนจากต่างชาติเข้ามาก เกิดสภาพคล่องทางการเงินสูง การปล่อยกู้ของธนาคารก็ปล่อยกันง่าย ๆ โดยเฉพาะการปล่อยกู้ให้ภาคอสังหาริมทรัพย์

ทำให้เกิดกระแสประชาชนที่พอจะมีเงินแห่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ซื้อที่ดินไว้เก็งกำไรเพื่อขายต่อ ซึ่งยุคนั้นใครมีเงินมาเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ก็รวยกันถ้วนหน้า จนขนาดที่ว่า นายทุนอสังหาริมทรัพย์แค่ประกาศเปิดตัวโครงการ ยังไม่ทันมีการก่อสร้างจริง ๆ ด้วยซ้ำ คนก็แห่มาจองกันหมดในพริบตาแล้ว

--------------------

BIBF ปฐมเหตุวิกฤติต้มยำกุ้ง

ในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน ภาค 2 หลังเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ รัฐบาลอานันท์ พยายามจะเปิดเสรีทางการค้าและทางเศรษฐกิจมากขึ้นเพื่อสานต่อนโยบาย "เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า" โดยเฉพาะการเปิดเสรีทางการเงิน โดยคำแนะนำของธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อต้องการให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน

คณะรัฐมนตรีของนายอานันท์ ปันยารชุน จึงได้อนุมัติให้มีการจัดตั้ง Bangkok International Banking Facilities (BIBFs) เมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2535 ทั้งนี้ ประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 16 กันยายน 2535 ได้ให้คำนิยามกิจการวิเทศธนกิจไว้ 2 ประเภท โดยสรุป คือ

1) กิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในต่างประเทศ หมายถึง การรับฝากหรือกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจากทั้งในประเทศและต่างประเทศ หรือการรับฝากหรือกู้ยืมเงินบาทจากต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำไปให้กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศในต่างประเทศหรือแก่กิจการวิเทศธนกิจอื่น

2) กิจการวิเทศธนกิจเพื่อการให้กู้ยืมในประเทศ หมายถึง การรับฝากหรือการกู้ยืมเงินตราต่างประเทศจากต่างประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจะนำไปให้กู้ยืมเป็นเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยโดยมีการเบิกถอนเงินกู้ยืมแต่ละครั้งไม่ต่ำกว่าจำนวนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

ค้นคว้าข้อมูลได้ที่ คลิกอ่าน ประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง การประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์



หน้าแรกของประกาศกระทรวงการคลังนโยบาย BIBF ในราชกิจจานุเบกษา 17 ก.ย. 2535 ลงนามโดย นายพนัส สิมะเสถียร รมว.คลัง ในรัฐบาลอานันท์ ลงวันที่ 16 ก.ย. 2535 ในหน้าสุดท้าย




ลังจากนั้น ก็มีรัฐบาลชวน เข้ามาบริหารประเทศต่อในวันที่ 23 กันยายน 2535

ซึ่งนโยบายกิจการวิเทศธนกิจ Bangkok International Banking Facilities : BIBF ที่เริ่มให้ธนาคารพาณิชย์ดำเนินกิจการวิเทศธนกิจอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 2536

"กิจการวิเทศธนกิจ ก็คือ กิจการที่มีแหล่งที่มาของเงินทุนมาจากต่างประเทศ ส่วนผู้ที่ได้รับสินเชื่อจะอยู่ในประเทศหรือนอกประเทศก็ได้ ธนาคารแห่งประเทศไทยอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ไทยและธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ดำเนินธุรกิจการเงินระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2536"

ดังนั้น จงทราบในชั้นต้นไว้ก่อนว่า รัฐบาลชวน หลีกภัย ไม่ใช่คนออกนโยบาย BIBF เพราะนโยบาย BIBF เป็นนโยบายที่สืบเนื่องมาจากรัฐบาลอานันท์

ซึ่งในวันนี้ประเทศไทยก็ยังใช้นโยบาย BIBF มาจนถึงปัจจุบัน !!

เพียงแต่แก้ไขกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ให้เหมาะสมและมีวินัยทางการเงินการคลังมากขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำรอยวิกฤติ 40 อีก หรือให้เกิดได้ยากขึ้น

---------------

เปิดเสรีทางการเงิน แต่คงค่าเงินบาทให้คงที่ คือหายนะ

การเปิดให้ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินของไทยไปกู้เงินจากต่างประเทศได้อย่างเสรี เพราะมีดอกเบี้ยต่างประเทศต่ำกว่าดอกเบี้ยในไทยอย่างมาก เพื่อมาปล่อยกู้ให้กับนักลงทุนไทยในประเทศ

ซึ่งเงินกู้ส่วนใหญ่ก็ถูกปล่อยกู้ไปกับการลงทุนในตลาดหุ้น และในภาคอสังหาริมทรัพย์ จนทำให้เกิดการเก็งกำไรในที่ดิน บ้าน คอนโด จนกลายเป็นฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ คือ จำนวนอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นมีมากเกินจำนวนความต้องการที่แท้จริง

แต่ที่อสังหาริมทรัพย์ยังขายได้ก็เพราะ กระแสเงินที่ธนาคารปล่อยกู้ง่าย ๆ บวกกับคนแห่ซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อการเก็งกำไร จนกลายเป็นความต้องการเทียม หรือ อุปสงค์เทียม นั่นเอง

และยังเงินจากนักลงทุนต่างประเทศที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมาก ก็ได้ทำให้มูลค่าหุ้นในตลาดสูงขึ้นกว่าความเป็นจริง ส่วนคนเล่นหุ้นที่ได้กำไร ก็เอาเงินมาเก็งกำไรในอสังหาริมทรัพย์ต่ออีกทอด

เมื่อเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามามาก เกิดความคล่องตัวทางการเงินในระบบเศรษฐกิจสูง ก็เลยปล่อยกู้กันอย่างง่าย ๆ ชุ่ย ๆ ในขณะที่ประเทศไทยยังคงรักษาค่าเงินบาทให้คงที่ต่อไป นี่จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นแห่งหายนะ

เพราะการเปิดเสรีทางการเงินนั้น เมื่อปล่อยให้เงินเข้าโดยเสรี ก็ควรต้องปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวอย่างเป็นธรรมชาติด้วย

แต่รัฐบาลไทยหลังจากเปิดใช้นโยบาย BIBF แล้ว ทุกรัฐบาลก็ยังฝืนธรรมชาติของการปริวรรตเงินตรา ด้วยการพยายามรักษาค่าเงินบาทไทยให้คงที่ด้วยการใช้ทุนสำรองระหว่างประเทศไปพยุงไว้

ซึ่งก็ไม่มีรัฐบาลไหน นักการเมืองคนไหน ผู้บริหารสถาบันการเงินคนไหน นักธุรกิจรายใหญ่คนไหน ภาคเอกชนรายใด ออกมาทักท้วงเพื่อให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้

เพราะทุกคนทุกฝ่ายต่างได้รับผลประโยชน์จากการคงอัตราค่าเงินบาทกันทั้งนั้น และก็ได้ประโยชน์จากการนำเงินต่างประเทศมาปล่อยกู้ในประเทศ หรือกินส่วนต่างดอกเบี้ยในประเทศกันทั้งสิ้น


------------------

พรรคการเมืองทุกพรรค นักการเมืองทุกคนมีส่วนทำให้เกิดวิกฤติ 2540

นโยบาย BIBF จริงๆ เริ่มกำเนิดขึ้นในสมัยรัฐบาลอานันท์ ปันยารชุน แต่การเปิดให้ธนาคารพาณิชย์ได้ดำเนินกิจการวิเทศธนกิจได้จริง ๆ ก็ล่วงเข้ามาในเดือนมีนาคม 2536 ในสมัยรัฐบาลชวน

แล้วหลังจากรัฐบาลชวน ก็มีรัฐบาลบรรหาร รัฐบาลชวลิต ที่บริหารประเทศหลังจากได้มีการดำเนินนโยบายเปิดเสรีทางการเงินแล้ว และยังรักษาค่าเงินบาทให้คงที่ ๆ 25 บาทต่อดอลล่าห์ต่อไป

ทุกรัฐบาลตั้งแต่รัฐบาลชวน รัฐบาลบรรหาร รัฐบาลชวลิต จึงต้องมีส่วนรับผิดชอบในวิกฤติปี 40 ด้วยกันทั้งสิ้น เพียงแต่ใครควรรับผิดชอบมากน้อยกว่ากันเท่านั้น ?



รัฐบาลชวน บริหารตั้งแต่ 23 กันยายน พ.ศ. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538
รัฐบาลบรรหาร บริหารตั้งแต่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539
รัฐบาลชวลิต บริหารตั้งแต่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 - 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540

ปัญหาเงินทุนจากต่างประเทศทะลักเข้าไทยมากเกินไปในภาคอสังหาริมทรพัย์ ได้สั่งสมมาเรื่อย ๆ และมากขึ้น ๆ แต่ไม่มีรัฐบาลไหนโดยเฉพาะรัฐบาลบรรหาร และรัฐบาลชวลิต ที่เข้ามาบริหารต่อจากรัฐบาลชวน จะหาทางแก้ไขในเรื่องนี้เลย หากคิดว่าภายใต้นโยบาย BIBF ที่รัฐบาลชวน ได้ดำเนินนโยบายสืบเนื่องมาจากรัฐบาลอานันท์ ทำไว้ไม่ดีตั้งแต่แรก เพราะทั้งรัฐบาลบรรหาร รัฐบาลชวลิต ก็เห็นดีเห็นงามตามกันมาทั้งหมด

สรุปก็คือ ควรรับผิดชอบร่วมกันทุกรัฐบาล


แต่มีชายคนหนึ่งที่เคยร่วมอยู่ในทุกรัฐบาลที่กล่าวมา คือทั้งรัฐบาลชวน รัฐบาลบรรหาร และรัฐบาลชวลิต เขาคนนั้นก็คือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เจ้าของธุรกิจเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

นายเสนาะ เทียนทอง เคยบอกว่า คนที่คุณรู้ว่าใคร คนนี้ได้กำไรหลายพันล้านบาทจากการลอยตัวค่าเงินบาท เพราะเขารู้ข่าววงในก่อนใคร เพราะคนที่คุณก็รู้ว่าใครสนิทสนมกับนายทนง พิทยะ รมว.คลังตอนนั้นเป็นพิเศษ  เพราะนายทนง พิทยะ คือผู้วางรากฐานระบบการเงินให้ชินคอร์ป แล้วคนที่คุณก็รู้ว่าใคร จึงรีบไปซื้อเงินดอลล่าห์ก่อนการลอยตัวเงินบาททันที



ดังนั้นใครก็ตามที่ไปกู้เงินมาลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และตลาดหุ้นจนเกิดฟองสบู่เศรษฐกิจ และใครก็ตามที่แห่ไปซื้อบ้าน คอนโด ที่ดิน เพื่อเก็งกำไร

รวมถึงนักธุรกิจ นายธนาคาร นักการเมืองและรัฐบาล ต่างก็มีส่วนทำให้เกิดวิกฤติ 40 ทั้งสิ้น

เพราะมันคือยุคแห่งความโลภของคนไทยโดยแท้

------------------

ความเห็น อดีต ผู้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทย นางธาริษา วัฒนเกศ ที่แสดงความเห็นในโอกาสครบรอบ 15 ปีวิกฤติ 40 ดังนี้


สาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 หลายคนอาจโยนความผิดทั้งหมดให้ ธปท. และอีกหลายคนก็โทษสถาบันการเงินที่ไม่ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อ ขณะที่อีกจำนวนไม่น้อยมองว่าบริษัทในตลาดหุ้นคือตัวร้าย แต่ในมุมมองของ ดร.ธาริษาต่อเรื่องนี้เป็นอย่างไร มีสาระสำคัญดังนี้

ในมุมมองของคุณธาริษาองค์ประกอบอะไรในสถาบันการเงินที่ขาดไปในช่วงนั้น ที่อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ’40 ?

ดิฉันคิดว่าวิกฤติ ’40 ทุกคนมีส่วนร่วมทั้งสิ้น ไม่ใช่ความผิดพลาดของบุคคลหรือหน่วยงานใดเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ตั้งใจ

อย่างธปท. แน่นอนว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะเปิดเสรีด้านการเงินโดยอนุญาตให้ตั้งวิเทศธนกิจ (บีไอบีเอฟ) ในขณะที่ไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินไม่ได้ทำให้สอดคล้องกัน ยังยึดถืออัตราแลกเปลี่ยนคงที่

การกำกับดูแลของเราก็ยังเป็นแบบดูว่าปฏิบัติตามกฎเกณฑ์หรือไม่ ไม่ได้ดูว่าเขาเสี่ยงไม่เสี่ยงแค่ไหนอย่างไรยังไง การกำกับดูแลทั่วไปอย่างสหรัฐฯ หรือประเทศที่เจริญแล้วก็ยังใช้หลักว่าปฎิบัติตามกฏเกณฑ์หรือไม่ ก็เป็นวิธีการที่ล้าสมัยอยู่ แต่อย่างไรก็ตาม ในแง่นั้นธปท. ก็ไม่ได้ก้าวตามแนวคิดใหม่ๆ ยุคสมัยเปลี่ยนสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นแล้วเราไม่ตามให้ทัน

ภาคเอกชนเองก็มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างที่เรียนไปเมื่อสักครู่ คือภาคธุรกิจก็อยากจะกู้ เพราะหาค่าตอบแทนได้

ในช่วงนั้นส่วนต่างดอกเบี้ยเมืองไทยสูงกว่าต่างประเทศเยอะมาก ?

ใช่คะ แล้วกู้มาจะเอาไปลงทุน ทำธุรกิจมันทำไม่ทัน สู้เอาไปลงทุนซื้อที่ดินซื้อหุ้นรวยเร็วกว่า ทุกคนก็อยากรวย ภาคธนาคารพาณิชย์หรือบริษัทเงินทุนก็อยากให้กู้ เพราะว่าได้ดอกเบี้ยเป็นรายได้ของตัวเอง

ภาครัฐก็เกี่ยวข้องในด้านกฎหมายที่ล้าสมัยและไม่ได้ปรับเปลี่ยนมานาน เช่น เรื่องการกำกับดูแลเราเคยอยากแก้กฎหมาย ให้แบงก์ชาติว่า การที่ธนาคารพาณิชย์จะตั้งคณะกรรมการของตัวเองได้ต้องขออนุญาต ธปท. เพราะธนาคารจะทำอะไรได้ดีหรือไม่ “คนที่บริหาร” สำคัญที่สุด แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ส่วนการเข้าไปดูแลแก้ไขปัญหาฐานะสถาบันการเงิน สมมติเรารู้ว่าธนาคารแห่งนี้หรือบริษัทเงินทุนแห่งนี้กำลังมีปัญหาและถ้าจะแก้ไขในครึ่งปีจะแย่ แต่เราไม่สามารถเข้าไปได้ ต้องรอเงินทุนหมดหรือติดลบก่อน คือกฎหมายไม่อำนวยความสะดวกให้แก้ปัญหาเนิ่นๆ ได้

พวกนี้นี้คือการผสมปนเปทั้งสิ้น ธนาคารพาณิชย์จะแก้ปัญหาลูกหนี้ก็ทำได้ไม่สะดวก จะปรับโครงสร้างหนี้กับลูกหนี้ก็มีกฎเกณฑ์เรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง

โดยสรุปแล้วดิฉันคิดว่า “ทุกคนมีส่วนทำให้เกิดวิกฤติ40โดยไม่ได้ตั้งใจ”

ที่มาคำสัมภาษณ์ Thaipublica.org

--------------------

การโจมตีค่าเงินบาท 

เมื่อไทยเราโดนโจมตีค่าเงินบาทจากพ่อมดการเงิน จอร์จ โซรอส และกองทุนเฮดฟันจ์ ทั้งหลาย

รัฐบาลชวลิตและธนาคารแห่งประเทศไทย พยายามใช้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศรักษาค่าเงินบาทให้คงที่ จนเงินทุนสำรองระหว่างประเทศเกือบหมด จนต้องลอยตัวค่าเงินบาทนั้น

ซึ่งถือเป็นการบริหารการเงินการคลังที่ผิดพลาดอย่างรุนแรงที่สุดของรัฐบาลชวลิต คือแทนที่จะค่อย ๆ ประกาศลดค่าเงินบาทลงเรื่อย ๆ เพื่อลดภาระทางการคลังรัฐบาลในการปกป้องค่าเงินบาทจากการถูกโจมตีจากนักค้าเงินต่างชาติ แล้วค่อย ๆ ลอยตัวค่าเงินบาทในที่สุด

แต่เมื่อเงินแทบหมดคลัง จนรัฐบาลชวลิตต้องประกาศลอยตัวค่าเงินบาทเมื่อสายเกินไปแล้ว ทำให้หนี้เงินกู้จากต่างประเทศที่รัฐบาลไทย สถาบันการเงินต่างๆ ไปกู้มา  หรือที่คนไทยเป็นหนี้จากการซื้อขายสินค้าจากต่างประเทศ ก็เพิ่มขึ้นไปกว่า 2 เท่า เพราะค่าเงินบาทเคยอ่อนตัวลงสูงสุดที่ 56 บาท/ดอลล่าห์สหรัฐ

ก็เลยทำให้ประเทศไทยต้องไปกู้ไอเอ็มเอฟ และได้เกิด ปรส. (องค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน) ขึ้นมาในสมัยรัฐบาลชวลิต ที่มีรองนายกรัฐมนตรีที่ชื่อทักษิณ ชินวัตร


พระราชกำหนดปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 

หัวเรื่อง หน้า 1 ของ พรก.ปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540


หัวเรื่องหน้า 2 ของ พรก.ปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 จัดตั้ง ปรส.


หน้าสุดท้าย ของ พรก.ปฏิรูปสถาบันการเงิน พ.ศ.2540 ลงนามโดยนายกรัฐมนตรีที่ชื่อ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ


คลิกอ่าน พรก. ปฏิรูปสถาบันการเงิน 2540 ที่นี่

ซึ่ง พรก.ปฏิรูปสถาบันการเงิน 2540 ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ ของคณะกรรมการ ปรส. ไว้เป็นกฎหมาย ที่ออกโดยรัฐบาลชวลิต 

หากฝ่ายเพื่อไทยจะโจมตีว่า ประชาธิปัตย์เข้าแทรกแซง ปรส. ที่เป็นองค์อิสระ ต้องยกข้อกฎหมายมาอ้างด้วยว่า ประชาธิปัตย์ละเมิดกฎหมายฉบับนี้ในข้อไหน ??

อย่ามาอ้างลอย ๆ สร้างวาทะกรรมเท็จไว้หลอกเสื้อแดงแบบโอ๊ค พานทองแท้เลย


คลิกอ่าน "โอ๊คโชว์โง่ คดี ปรส. แถมอวยจำนำข้าวอย่างหน้าด้าน"

------------

เมื่อวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 เกิดจาก กู้เงินจากนอกมาเก็งกำไรในหุ้นและอสังหาริมทรัพย์ จนฟองเศรษฐกิจสบู่แตก

ส่วนโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถ้ายังไม่ถูกปิดบัญชีลงไป รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็จะหาทางกู้เอาเงินจากสถาบันการเงินต่าง ๆ มารับซื้อข้าวในราคาแพงเว่อร์ จนเงินไปจมในโครงการจำนำข้าวอีกหลายล้าน ๆ บาทแน่นอน แล้วในที่สุดก็จะเกิดฟองสบู่เศรษฐกิจแตกอีกครั้ง

ปรส. ขายหนี้เน่าสถาบันการเงิน 56 แห่งมูลค่าเดิมก่อนเกิดวิกฤติ40 จำนวน 8 แสนล้านบาท ขายได้เงินมา 2 แสนล้านบาท

แล้วรัฐบาล คสช. และรัฐบาลต่อ ๆ ไป จะขายข้าวสารที่กำลังจะเสื่อมกำลังเน่า 18 ล้านตัน จะได้มูลค่าสักเท่าไหร่กัน


ฟังนายธนาคาร นักธุรกิจ และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในวิกฤติ 40 อธิบายถึงที่มาของวิกฤติ 40 จากรายการสยามวาระ โดยเฉพาะรูปที่ขึ้นหน้าจอยูทูป นายยรรยง พงษ์พานิช พูดดีมาก เพราะเขายอมรับความผิดว่า เขาเองก็หลงคิดว่า ตนเองเก่งในช่วงเศรษฐกิจฟองสบู่เหมือนกัน



-----------------

นเก็บขยะ เก็บซีดีเอาไปขายอย่างผิดกฎหมาย โดนศาลตัดสินให้ชดใช้เงินค่าปรับ 1.5 แสนบาท แต่เขาไม่มีเงินจ่ายค่าปรับ จึงถูกจำคุกแทนค่าปรับ แต่ภายหลังมีเศรษฐีใจบุญไม่ประสงค์ออกนามบริจาคเงินช่วยเหลือชดใช้ค่าปรับแทนเขา

คนเก็บขยะคนนี้ หลังจากจบคดีดังคดีนี้แล้ว เขาได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า เมื่อนึกย้อนกลับไปเขาไม่โทษใคร และเขายอมรับความผิดโดยดีจากความรู้เท่าไม่ถึงการของเขา เพราะคนเราควรเคารพกฎหมายและอยู่ภายใต้กฎหมายเหมือนกันทุกคน

ในขณะที่ ยิ่งลักษณ์ทำผิดพลาดในการบริหารนโยบายจำนำข้าว ขาดทุนอย่างต่ำ 5.1 แสนล้าน ยังไม่รวมดอกเบี้ยเงินกู้ที่กำลังงอกเงยต่อไป (ผมว่าถ้าเปิดเผยหลักการคำนวณมากกว่านี้ ผมว่าจะเห็นการขาดทุนถึง 7แสนล้านแน่นอน ยังมีการหมกเม็ดการคำนวณอยู่)

ยิ่งลักษณ์ทำความชาติเสียหายให้ชาติหลายแสนล้านบาท ถ้าไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ทั้ง ๆ ที่มีการทักท้วงให้หยุดโครงการนี้แล้ว ประเทศนี้คนดีก็ยิ่งอยู่ยากมากขึ้น

----------------

ล่าสุด ได้มี อดีต สส. ปชป. ได้แสดงความเห็นชื่นชมบทความนี้ของผมแล้ว

ได้มีอดีต สส.ประชาธิปัตย์ ซึ่งปัจจุบันเขาได้ลาออกจากสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ไปแล้ว คือ คุณพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ได้เข้ามาอ่านและได้ชื่นชมบทความผมแล้ว

นี่คือสิ่งยืนยันว่า บทความเรื่องนี้ผมเขียนด้วยข้อมูลจริงแท้แน่นอน ทั้ง ๆ ที่ผมก็เขียนในบทความนี้ว่า ทุกรัฐบาลมีส่วนรับผิดชอบในวิกฤติ 40 ด้วยกันทั้งนั้น ไม่เว้นแม้กระทั่งรัฐบาลชวน

คุณพิเชษฐ์ พันธุ์วิชาติกุล ได้ตอบความเห็นของผม เมื่อผมไปโพสลิงค์บทความไว้ที่เพจโอ๊ค พานทองแท้

http://goo.gl/GXNP8w




คลิกอ่าน "ใครกู้IMF ใครใช้หนี้ไอเอ็มเอฟ ใครผลาญเงินเอาหน้า"

คลิกอ่าน ทำไม ปรส. ไม่แยกหนี้ดีหนี้เสียออกจากกัน ??




2 ความคิดเห็น:

  1. ลองดูสถานะการณ์ปัจจุบันซิ เงินคงคลังเหลือ 7หมื่นกว่าล้าน เกิดจากอะไร แล้วจะเกิดอะไรตามมา ลองวิเคราะห์และคาดเดาซิครับ ว่าจะเป็นไปตามที่คาดไหมในอนาคตอันใกล้

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. นี่ก็มาแสดงความเห็นโง่ ๆ อีกคน

      เงินคงคลัง คืออะไร ?

      ที่เหลือน้อยเพราะอะไร ? แล้วรู้ไหม เขาไม่ได้กู้เงินมาเก็บจนเต็มวงเงินกู้ ให้เสียค่าดอกเบี้ยเงินกู้ เพื่อรักษาหน้าตาว่า มีเงินคงคลังเหลือเยอะ

      ยกตัวอย่างง่าย ๆ เงินคงคลังก็เอาเงินไปใช้สร้างสาธารณูปโภคใหญ่ ๆ สำคัญ ๆ โดยไม่ต้องไปกู้เงินจากที่อิื่นมาทำไง จะได้ไม่ต้องเสียค่าดอกเบี้ยเงินกู้แพง ๆ

      ถ้าเงินในคลังมีอยู่ ก็ใช้งบประมาณที่มีอยู่สร้างไปสิ เช่นโครงการรถไฟฟ้ากำลังก่อสร้างกี่สายน่ะ เห็นไหม จะได้ไม่ต้องไปกู้เงินให้เสียดอกเบี้ยแพง ๆ แล้วให้พวกนักการเมืองกินค่าต๊งจากการกู้เงินไง

      ถามโง่ ๆ นะ

      ลบ