วันอังคารที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2555

คำตัดสินศาล กับ พจนานุกรม และตรรกะฟายแดง







คำตัดสินศาล กับพจนานุกรม และตรรกะฟายแดง

เวลาศาล นำพจนานุกรมมาประกอบการตัดสินคดี มักจะมีแกนนำแดง สร้างวาทะกรรมโง่ๆ หลอกฟายแดงว่า ระบบยุติธรรมไทยใช้พจนานุกรมตัดสินคดี

นี่คือวาทะกรรมเท็จที่ใช้สำหรับหลอกพวกฟายแดงเท่านั้น

สืบเนื่องมาจากคดีชิมไปบ่นไป และยกโขยงหกโมงเช้า ของนายกสมัคร สุนทรเวช ว่าผิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 หรือไม่

รัฐธรรมนูญมาตรา 267 บัญญัติว่า

ห้ามนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นลูกจ้างของบุคคลใด เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นไปโดยชอบ ป้องกันมิให้การกระทำขัดกันของผลประโยชน์อันจะก่อให้เกิดการขาดจริยธรรม ซึ่งยากต่อการตัดสินใจ ทำให้ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์สาธารณะ เมื่อผู้ดำรงตำแหน่งคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์สาธารณะ จะขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับการใช้อำนาจตำแหน่งหน้าที่ ซึ่งจะขัดกันในลักษณะที่ประโยชน์ส่วนตัวจะได้มาจากการเสียไปซึ่งประโยชน์สาธารณะ อันทำให้เจตนาของรัฐธรรมนูญดังกล่าวบรรลุผล

------------

ทีนี้คำว่า ลูกจ้าง มีอยู่ทั้งในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ทั้งในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ทั้งในกฎหมายภาษีอากร ซึ่งแต่ละกฎหมายที่กล่าวมานั้น ได้ให้ความหมายของคำว่า ลูกจ้าง แตกต่างกันไป ตามเหตุผลและเจตนารมณ์แห่งกฎหมายนั้น ๆ

แต่กฎหมายที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น ล้วนอยู่ในสถานะต่ำกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น

เนื่องจากกฎหมายรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดของประเทศ จึงจำเป็นต้องครอบคลุมความหมายให้กว้างที่สุดเพื่อรับรองสถานะสถาบันและสิทธิเสรีภาพของประชาชนกำหนดพื้นที่ฐานการดำเนินการของรัฐให้รัฐได้ใช้กับสภาวการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้ถูกต้องตามเจตนารมณ์

ดังนั้นคำว่า "ลูกจ้าง" ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 267 จึงมีความหมายกว้างกว่าคำนิยามของกฎหมาย หรือการแปลตามความหมายทั่วไป

ศาลจึงต้องยึดความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานเป็นหลัก เพื่อความเป็นธรรมแก่ทุกคน

ดังนั้นในความหมายของ "ลูกจ้าง" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน จึงหมายถึง ผู้รับจ้างทำการงาน ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้นายจ้าง โดยได้รับค่าจ้าง ไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร โดยมิได้คำนึงถึงว่าจะมีการทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ หรือได้รับค่าตอบแทนเป็นค่าจ้าง หรือค่าตอบแทนเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นหากได้มีการตกลงรับจ้างกันทำการงานการแล้วย่อมมีความของคำว่า "ลูกจ้าง" ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 267 ทั้งสิ้น


-----------------------

เพราะพจนานุกรมราชบัณฑิต คือสิ่งสำคัญที่สุดในทุกตำราเรียน ทุกตำรากฎหมาย ใช้ในการอ้างอิงว่า คำในภาษาไทยคำนั้นๆ มีความหมายที่ชัดเจนอย่างไรกันแน่

เมื่อเกิดข้อถกเถียงในการตีความหมายของคำนั้น ๆ ในทุกๆ คดีความ ซึ่งลองไปถามนักกฎหมายดูได้ ว่า ศาลได้ยึดพจนานุกรมใช้เป็นหลักในการตีความมาแล้วในหลาย ๆ คดี ไม่ใช่เฉพาะแค่คดีการเมืองเท่านั้น

ซึ่งถ้าไม่ให้ศาลไทยอ้างความหมายภาษาไทยที่ถูกต้อง จากพจนานุกรมราชบัณฑิตฯ แล้วจะให้อ้างจากไหนเล่า?

หรือจะให้อ้างพจนานุกรมมอนเตเนโกรแทน ?? จึงจะยุติธรรม เพราะพ่อฟายแดงเป็นคนมอนเต ??

ถ้าคนไทยไม่ยึดพจนานุกรมราชบัณฑิตไว้เป็นหลักของภาษาไทยแล้ว

ต่อไปก็คงมีควายโง่ๆ ที่แยกแยะไม่ได้ว่า คำว่า เรือดำน้ำ แตกต่างจาก เรือดันน้ำ อย่างไร

คำว่า คอนกรีต อ่านว่าอย่างไร

คำว่า อำเภอ ต่างจากคำว่า จังหวัด อย่างไร

หรือ แยกแยะไม่ได้กระทั่งคำว่า เมือง ต่างจากคำว่า ประเทศ อย่างไร

จริงมะ? ยัยปูนิ่ม !!



ประเทศไทยโชคร้ายที่มีนักการเมืองชั่ว ๆ ก็ว่าแย่แล้ว

แต่ที่แย่ยิ่งกว่าคือ มีควาย 15 ล้านเสียงนี่แหละ !!



คลิกอ่าน หลังนีล อาร์มสตรองตาย กับประเด็น มนุษย์เคยไปเหยียบดวงจันทร์จริงหรือ?




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น