วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

นโยบายยิ่งลักษณ์เอื้อคนรวยๆ ยิ่งขึ้น แต่ซ้ำเติมคนจนให้จนลง





(หมายเหตุ ยอดไลค์เคยมีอยู่เกือบ100 แต่เพราะเฟสบุ้คไม่เสถียรเลยหายไปหมด)


จำได้มั้ย ผมเคยวิเคราะห์ไว้เมื่ออาทิตย์ก่อนในบทความว่า รัฐบาลเพิ่มภาษีเหล้า บุหรี่ แต่จริงๆ คือการทำร้ายคนจน เพราะคนจนนั่นแหละที่ติดสิ่งเสพติดพวกนี้ที่สุด และไม่เลิกง่ายๆ ด้วย ในบทความ คิดตื้นไป ขึ้นภาษีเหล้า บุหรี่ ยิ่งขูดรีดคนจน 

และผมเคยวิเคราะห์ไว้ในเพจปัญญาชนคนใต้ไว้ว่า แต่รัฐบาลชั่ว กลับไปลดภาษีนิติบุคคลลง อ้างเพื่อสนับสนุนการลงทุน ซึ่งแท้จริงผลประโยชน์แอบแฝงให้ธุรกิจของตนเองด้วย

และสิ่งที่ผมคาดการณ์ไว้ก็เป็นจริง  เพราะข่าววานนี้ ฟอร์บจัดอันดับเศรษฐีไทย หลายคนคงได้อ่านแล้ว ซึ่งฟอร์บระบุว่า เศรษฐีไทยรวยขึ้น20 % จากปีที่แล้ว เพราะอะไรรู้มั้ย?


------------


เพราะ

ฟอร์บส์ระบุว่า "สาเหตุสำคัญที่ทำให้มหาเศรษฐีของไทยมั่งคั่งขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศลดอัตราภาษีประกอบการของบริษัทลงจาก 30 เปอร์เซ็นต์ เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ และจะลดลงอีกเหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2556 และ 2557 นอกจากนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยในปีที่ผ่านมาก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 19 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ทรัพย์สินรวมของ 40 มหาเศรษฐีของเมืองไทยมีมากขึ้นเป็น 55,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.65 ล้านล้านบาท"

----------------

เป็นไงล่ะ ไอ้พวกฟายแดง พวกมึงจนลง เพราะEโง่ขูดรีดพวกมึงกับพวกเพิ่มขึ้นทุกทาง แต่กลับออกนโยบายให้พวกเศรษฐีแบบพวกมันรวยเอาๆ ไอ้ฟายแดง มรึงมันโง่ทำลายชาติจริงๆ

อย่างสินค้าในเครือซีพี ไปดูเหอะ มีอะไรถูกลงบ้าง แพงขึ้นมาตลอด

รัฐบาลมันเพิ่มค่าแก๊ส ค่าไฟฟ้า เพื่อปตท.จะได้กำไรเพิ่มขึ้น แล้วเป็นไง ใครจนลง ใครรวยขึ้น? มหาเศรษฐีเขารวยขึ้น แต่พวกมรึงฟายแดงจนลง (รวมทั้งพวกกรูด้วย)

ความโง่ของฟายแดง มันคงไม่รู้ตัวหรอกว่า โดนไอ้เหลี่ยมหลอกใช้

คลิกที่รูปเพื่ออ่านข่าวนี้





เจ้าสัวธนินท์ นำข้าวกล่องไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดีนะที่ไม่เอาข้าวกล่องเซเว่นไปแจก

เมื่อวันที่ 6 กันยายน นิตยสารฟอร์บส์ ฉบับประจำเดือนกันยายน 2555 เผยแพร่ผลการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในประเทศไทย 40 อันดับ ประจำปี 2555

ปรากฏว่าบุคคลที่รวยที่สุด 10 อันดับแรก ยังคงคล้ายคลึงกับการจัดอันดับเมื่อปีที่ผ่านมา โดยมี

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ และครอบครัว โดยมีทรัพย์สินสุทธิ 9,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 270,000 ล้านบาท รั้งอันดับ 1 ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2553

ตามด้วยตระกูลจิราธิวัฒน์ ที่มีทรัพย์สินรวม 6,900 ล้านดอลลาร์ หรือราว 207,000 ล้านบาท แซงหน้านายเจริญ สิริวัฒนภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ที่มีทรัพย์สินรวม 6,200 ล้านดอลลาร์ หรือราว 186,000 ล้านบาท

อันดับ 4 คือตระกูลอยู่วิทยา ซึ่งเพิ่งสูญเสียนายเฉลียว อยู่วิทยา เจ้าของฉายาเจ้าพ่อกระทิงแดง ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีทรัพย์สินรวม 5,400 ล้านดอลลาร์ หรือราว 162,000 ล้านบาท

อันดับ 5 เป็น นายกฤต รัตนรักษ์ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท บางกอก บรอดคาสติ้ง แอนด์ ทีวี 3,100 ล้านดอลลาร์ หรือราว 93,000 ล้านบาท

อันดับ 6 นายจำนงค์ ภิรมย์ภักดี ประธานบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ และครอบครัว 2,400 ล้านดอลลาร์ หรือราว 72,000 ล้านบาท

อันดับ 7 นายวิชัย มาลีนนท์ และครอบครัว 1,800 ล้านดอลลาร์ หรือราว 54,000 ล้านบาท

อันดับ 8 นายอาลก โลเฮีย ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อินโดรามา จำกัด 1,600 ล้านดอลลาร์ หรือราว 48,000 ล้านบาท

อันดับ 9 นายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ 1,200 ล้านดอลลาร์ หรือราว 36,000 ล้านบาท และอันดับ 10 นายวาณิช ไชยวรรณ และครอบครัว เจ้าของกิจการบริษัท ไทยประกันชีวิต 1,160 ล้านดอลลาร์ หรือราว 34,800 ล้านบาท

ทั้งนี้ ฟอร์บส์ตั้งข้อสังเกตว่าเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมามหาเศรษฐีของไทยร่ำรวยขึ้นกว่าเดิม โดยมีทรัพย์สินรวมเพิ่มขึ้นปีละกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 2 ซึ่งส่งผลให้เกิดแนวโน้มการเดินทางออกไปลงทุนในต่างประเทศ หรือขยายกิจการออกไปในต่างแดนกันมากขึ้น

ตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดคือ กรณีความพยายามแข่งซื้อหุ้นของบริษัท เอเชียแปซิฟิกบริวเวอรี่ (เอพีบี) ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี หรือกรณีที่นายธนินท์ให้ความสนใจกิจการค้าปลีกแมคของโคร และสมิธฟีลด์ ฟู้ด กิจการอาหารของสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการไล่ซื้อกิจการในต่างแดนของนายไกรสร จันศิริ เจ้าของกิจการไทย ยูเนียน ฟรอซเซน ที่อยู่ในอันดับ 25 ของการจัดอันดับในปีนี้

ในขณะที่นายอาลก ก็ไปเริ่มกิจการโรงงานผลิตโพลีเอทิลีนเทอเรพทาเลตในแอฟริกาเป็นรายแรก นอกเหนือจากที่นายวิลเลียม ไฮเนคเก้ เจ้าของไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล (อันดับ 24) ก็ไปเปิดกิจการโรงแรมในอาบูดาบี และบาหลี เป็นต้น

ฟอร์บส์ระบุว่า สาเหตุสำคัญที่ทำให้มหาเศรษฐีของไทยมั่งคั่งขึ้นนั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ประกาศลดอัตราภาษีประกอบการของบริษัทลงจาก 30 เปอร์เซ็นต์ เป็น 23 เปอร์เซ็นต์ และจะลดลงอีกเหลือ 20 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2556 และ 2557 นอกจากนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของไทยในปีที่ผ่านมาก็เพิ่มสูงขึ้นถึง 19 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ทรัพย์สินรวมของ 40 มหาเศรษฐีของเมืองไทยมีมากขึ้นเป็น 55,000 ล้านดอลลาร์ หรือราว 1.65 ล้านล้านบาท


สำหรับอันดับที่น่าสนใจอื่นๆ มีอาทิ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ยังคงติดอยู่ในอันดับ 23 ของการจัดอันดับในปีนี้ โดยมีทรัพย์สินร่วมกับครอบครัว 600 ล้านดอลลาร์ หรือราว 18,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ กิจการการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในไทยที่ยังคงเติบโตต่อเนื่องได้ส่งผลให้มีเศรษฐีหน้าใหม่ติดเข้ามาใน 40 รายชื่อของปีนี้ 2 ราย คือนายเฉลิม หาญพิทักษ์ (อันดับ 33) เจ้าของกิจการในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ มีทรัพย์สินรวม 285 ล้านดอลลาร์ หรือราว 8,550 ล้านบาท และนายวิชัย ทองแตง อดีตทนายความประจำตัวของ พ.ต.ท.ทักษิณ (อันดับ 20)

ฟอร์บส์ระบุด้วยว่า ระดับของทรัพย์สินต่ำสุดในปีนี้ที่จะทำให้ติดอยู่ใน 40 อันดับของปีนี้นั้นอยู่ที่ 200 ล้านดอลลาร์ หรือราว 6,000 ล้านบาท โดยที่นายไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม แห่งจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ สามารถติดอยู่ตรงอันดับท้ายสุดพอดี อันเป็นผลจากกำไรในการถ่ายทอดสดฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป หรือยูโร 2012 ที่ผ่านมา 

ในขณะที่อดีตมหาเศรษฐีที่หลุดออกไปจากโผก็มีเช่น นายวิทย์ วิริยะประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เอสเอสไอ, นางนิจพร จรณะจิตต์ เจ้าของโรงแรมแมนดาริน โอเรียลเต็ล และนายเปรมชัย กรรณสูต แห่งอิตัลไทย ดีเวลล็อปเมนท์ จำกัด เป็นต้น นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตด้วยว่ากรณีทรัพย์สินของนายเฉลียว อยู่วิทยา กำลังอยู่ระหว่างกระบวนการจัดสรรให้กับลูกๆ ทั้ง 11 คน

ขณะเดียวกันฟอร์บส์ได้ประกาศการคัดเลือก 50 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ที่มีมูลค่าการตลาดอย่างน้อย 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรากฏว่ามีบริษัทสัญชาติไทยติดอยู่ในลิสต์เพียง 2 บริษัทเท่านั้น คือ ซีพีออล เจ้าของกิจการ เซเว่นอีเลฟเว่น ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ กับบริษัท อินโดรามา ซึ่งเป็นกิจการสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย

โดยส่วนใหญ่แล้วบริษัทที่ติดอยู่ในรายการคัดเลือกมักเป็นบริษัทจากจีนมากถึง 23 บริษัท, อินเดีย 11 บริษัท โดยชนิดของธุรกิจที่ติดอยู่ในอันดับมากที่สุดคือ บริษัทด้านเทคโนโลยี ตามด้วยกิจการด้านการบริโภค



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น