19 พ.ค. 57 นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ได้กล่าวกับ สว. ที่เข้าพบว่า
"ส่วนการขอให้ครม.ลาออกนั้นก็ไม่สามารถทำได้ มิฉะนั้นจะเป็นการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 181 และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ครม.ที่เหลืออยู่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป"
เดลินิวส์
--------------------------
รัฐธรรมนูญมาตรา 181 กำหนดให้ หลังการยุบสภาคณะรัฐมนตรีต้องอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่นั้น รัฐธรรมนูญนั้น หมายถึง ให้รัฐบาลที่มีความชอบธรรม ยังไม่หมดความชอบธรรม อยู่ทำหน้าที่ต่อไป
รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้รัฐบาลที่หมดความชอบธรรมอยู่ทำหน้าที่ต่อไป
แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลยิ่งลักษณ์ได้กระทำความผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง รัฐบาลหมดความชอบธรรมไปแล้ว ก็ยังจะหน้าด้านอ้างมาตรา 181 อย่างหน้าด้าน ๆ อยู่ได้
ซึ่งเรื่อง สุญญากาศทางการเมืองได้เกิดขึ้นแล้ว ขณะนี้ไม่มีรัฐบาลแล้ว ผมได้เขียนไว้ในบทความเรื่อง สุญญากาศทางการเมืองเกิดขึ้นแล้วตามมาตรา 171
และ ครม.ทั้งคณะก็สิ้นสุดสภาพตามยิ่งลักษณ์ไปแล้วตามมาตรา 180 ซึ่งจะเขียนในบทความต่อไป
----------------------
ส่วนเนื้อหาในบทความนี้ ผมจะขออธิบายเรื่องที่นายนิวัฒน์ธำรง บิดเบือนคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ในคดีโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนสี
ที่นายนิวัฒน์ธำรง อ้างว่า ศาลกำหนดให้ ครม. ที่เหลืออยู่ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปนั้น เป็นการบิดเบือนเพื่อหวังยังอยู่ในอำนาจต่อไป
เพราะที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้น ศาลได้วินิจฉัยเฉพาะกรณีการโยกย้ายคุณถวิล เปลี่ยนสี เท่านั้นว่า ครม.ชุดที่โยกย้ายคุณถวิล ต้องสิ้นสุดสภาพความเป็นรัฐมนตรีลง
ศาลจะไม่วินิจฉัยนอกประเด็น นอกคำร้อง หรือนอกเหนือคดีที่ยื่นเด็ดขาด
ตรงจุดนี้จึงไม่ได้แปลว่า ศาลได้วินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรีที่ยังเหลืออยู่อีก 24 คน ยังมีสถานะเป็นรัฐบาลได้ต่อไปอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นคำร้องคนละประเด็นกัน
แต่ถ้ามีใครไปร้องต่อศาลใหม่ เช่น กกต. ไปร้องให้ศาลวินิจฉัยใหม่ว่า หลังจากยิ่งลักษณ์พ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรีแล้ว นายนิวัฒน์ธำรง สามารถสนองพระบรมราชโองการเลือกตั้งทั่วไปแทนนายกรัฐมนตรีได้หรือไม่
หรือมี สว. ไปยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยว่า เมื่อนายกรัฐมสตรีสิ้นสภาพรัฐมนตรีแล้ว คณะรัฐมนตรีที่เหลืออยู่ยังมีสภาพความเป็นรัฐมนตรีอยู่หรือไม่
จะต้องมีคนไปยื่นคำร้องใหม่ในเรื่องนี้ ศาลจึงจะวินิจฉัยสถานะของรัฐบาลได้
ที่จริงถ้านักการเมืองไทยดีมีคุณธรรมเหมือนนักการเมืองชาติที่เจริญแล้ว เขาจะไม่หน้าด้านรอให้ใครไปยื่นคำร้องหรอก เขาต้องรู้ตัวเองว่า สิ้นสภาพความเป็นรัฐบาลไปแล้ว
----------------------
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในคดีคุณถวิล
คดีนี้ เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องในคดีนี้สิ้นสุดลง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 1(7) เป็นเหตุให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่ง ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 180 วรรค 1(1) แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัว ย่อมทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือ ที่ไม่ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามของความเป็นรัฐมนตรี อยู่ตำแหน่งต่อไปจนกว่ารัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ได้ อย่างไรก็ตาม หากรัฐมนตรีคนใด ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง เป็นการเฉพาะตัว ตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ใน มาตรา 182 วรรค 1(1) ถึง (8) ย่อมมีผลให้รัฐมนตรีคนนั้น ไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่ารัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามมาตรา 181 ได้เช่นกัน ในกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการประจำระดับสูง จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน
ดังนั้น คดีนี้ หากรัฐมนตรีคนใดมีส่วนร่วมในการลงมติอันเป็นการก้าวก่าย หรือแทรกแซงข้าราชการประจำ โดยการโอนย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี ซึ่งเป็นกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 206 ด้วย ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม ย่อมเป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีผู้นั้นสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 1(7) ตามไปด้วย และไม่อาจอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 181 ได้อีกต่อไป
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดเจนว่า มีการนำเรื่องการโยกย้าย นายถวิล เปลี่ยนศรี และการให้นายถวิล เปลี่ยนศรี พ้นจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติอย่างเร่งรีบ รวบรัด ในลักษณะที่ไม่เป็นไปตามปกติ เป็นวาระเพื่อทราบจร ในวันที่ 6 กันยายน 2554 และคณะรัฐมนตรีมีมติเอกฉันท์อนุมัติให้กระทำการโยกย้าย และให้ข้าราชการประจำพ้นจากตำแหน่ง โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปในวันเดียวกันนั้นเอง รัฐมนตรีทุกคนที่ร่วมประชุมและลงมติในวันนั้น จึงมีส่วนร่วมในทางอ้อมในการก้าวก่าย และแทรกแซงข้าราชการประจำ อันเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 ประกอบมาตรา 266(2) และ (3) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีเหล่านั้น ต้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1(7) ไปด้วย
สำหรับประเด็นตามคำขอผู้ร้องที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ดำเนินการแต่งตั้ง นายกรัฐมนตรีคนใหม่ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 172 และมาตรา 173 โดยรวมนั้น ไม่อยู่ในขอบเขตเสนอคำร้อง ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยคดีนี้ ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับพิจารณาวินิจฉัย จึงให้ยกคำขอส่วนนี้
อาศัยเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น ศาลรัฐธรรมนูญโดยมติเอกฉันท์จึงวินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องใช้สถานะ หรือตำแหน่งการเป็นนายกรัฐมนตรีเข้าไปก้าวก่าย หรือแทรกแซง เพื่อประโยชน์ของตนเองและของผู้อื่น ในเรื่องการบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โอน หรือการพ้นจากตำแหน่งของข้าราชการ ซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ และมิใช่ข้าราชการการเมือง จึงต้องด้วยรัฐธรรมนูญ มาตรา 266(2) และ (3) และถือเป็นการกระทำตามรัฐธรรมนูญมาตรา 268 อันมีผลทำให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องสิ้นสุดลงเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 1(7) และรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2554 จึงมีส่วนร่วมในการก้าวก่าย และแทรกแซง ข้าราชการประจำ อันเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 268 ประกอบมาตรา 266(2) และ (3) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของรัฐมนตรีเหล่านั้นต้องสิ้นสุดเป็นการเฉพาะตัว ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 วรรค 1(7) ไปด้วย
-----------------
สรุปง่าย ๆ คือ ศาลได้วินิจฉัยเฉพาะสถานภาพของ ครม. ชุดที่โยกย้ายคุณถวิลว่าหมดสภาพความเป็นรัฐมนตรีหรือไม่เท่านั้น
เพราะผู้ร้องยื่นคำร้องในคดีการโยกย้ายข้าราชการอย่างไม่เป็นธรรมเท่านั้น ศาลจะไม่วินิจฉัยเกินกว่าคำร้อง และเกินกว่าอำนาจศาล
แปลความง่าย ๆ ว่า ถ้าเฉพาะคดีโยกย้ายคุณถวิล รัฐมนตรีที่ไม่ได้อยู่ในครม. ชุดนั้น จึงยังไม่พ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี ส่วนในกรณีอื่น ๆ ศาลยังไม่ได้วินิจฉัย เพราะยังไม่มีผู้ไปร้อง
แต่ถ้ามีใครไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใหม่ ในเรื่อง การรับสนองพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งของนายนิวัฒน์ธำรง หรือมีใครไปยื่นคำร้องให้ศาลวินิจฉัยเรื่อง สถานภาพ ครม.รักษาการในตอนนี้ใหม่ ศาลจึงจะวินิจฉัยได้
แต่ตามหลักรัฐธรรมนูญไม่ว่าที่ใด ๆ ในโลกนี้ เมื่อไม่มีนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีสิ้นสภาพความเป็นรัฐมนตรี ความเป็นคณะรัฐมนตรีจึงต้องสิ้นสุดลงไปด้วย
แต่เพราะพวกชั่วมันจะแถ อย่างไร้จิตสำนึกและจริยธรรม พอศาลไม่ได้วินิจฉัยมาว่าพวกมันสิ้นสภาพความเป็นรัฐบาล มันก็จะแถเพื่ออยู่ในอำนาจต่อไป
-------------------
ส่วนที่ว่า รักษาการต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่มาแทน ก็หมายถึงว่า เมื่อตอนนี้เกิดสุญญากาศทางการเมืองแล้ว (ตามหลักที่ถูกต้อง ควรให้ปลัดกระทรวงรักษาการแทนแล้วด้วยซ้ำ)
ฉะนั้นตอนนี้วุฒิสภาจึงสามารถทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร ในการสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ได้ทันที
เมื่อมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่แล้ว พวกชั่วที่เหลืออีก 24 คนก็ต้องจบสภาพลงโดยสมบูรณ์
การที่ศาลวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงในกรณียิ่งลักษณ์ ก็ไม่ต่างอะไรกับสิ้นสภาพรัฐมนตรีจาก การลาออก การตาย ตามมาตรา 182
ฉะนั้น ที่นายนิวัฒน์ธำรงอ้างว่า ยังลาออกไม่ได้ แถมมีครม. ใหม่ก็ไม่ได้ เพรา่ะตนเองยังรักษาการอยู่ จึงเป็นการบิดเบือนรัฐธรรมนูญของพวกชั่วโดยแท้
ความแถและการตีความของนายนิวัฒน์ธำรง ก็ไม่ต่างจากพระบางคนตีความว่า พระสามารถนั่งรถไฟเหาะตีลังกาได้ เพราะพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติห้ามพระนั่งรถไฟเหาะเอาไว้
คลิกอ่าน ดูชัด ๆ ความเป็นคณะรัฐมนตรีสิ้นสุดลงแล้วตามมาตรา 180 จึงต้องใช้มาตรา 7
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น