ผมขอเริ่มต้นด้วยตรรกะนักวิชาการแดง ที่ชอบอ้างว่า ไม่มีรัฐธรรมนูญมาตราใด ที่กำหนดให้เลื่อนวันเลือกตั้งได้
ผมขอหักล้างตรรกะนักวิชาการแดงได้ง่าย ๆ เลยนะว่า "เมื่อไม่มีมาตราใดๆ ในรัฐธรรมนูญกำหนด ก็แสดงว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ห้าม ไม่ได้กำหนดไว้ ก็แปลว่า เลื่อนเลือกตั้งได้ โดยที่ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ"
ผมตอบด้วยตรรกะง่าย ๆ แบบนี้ พวกนักวิชาการเรียนเกิน มันคงงง
เพราะรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดของประเทศ ถ้าเรื่องใดรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด การที่จะทำอะไรที่รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนด ก็ย่อมไม่ขัดรัฐธรรมนูญ จริงไหม ?
---------------------------
ศาลรัฐธรรมนูฐรับวินิจฉัยเรื่องนี้ได้หรือไม่ ?
คือ กกต.อยากให้รัฐบาลเลื่อนการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลบอกว่า ไม่มีอำนาจที่จะเลื่อน เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดไว้
กกต. ก็สงสัยว่า ตกลงอำนาจในการเลื่อนการเลือกตั้งทำได้หรือไม่ และเป็นอำนาจหน้าที่ของใคร ระหว่าง กกต. กับ นายกรัฐมนตรี ?
กกต. ก็เลยยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตีความ
ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเอกฉันท์รับวินิจฉัยตีความ ด้วยการอ้างตาม รธน. มาตรา 214 กำหนดว่า
"ในกรณีที่มีความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภาคณะรัฐมนตรีหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่มิใช่ศาลตั้งแต่สององค์กรขึ้นไปให้ประธานรัฐสภานายกรัฐมนตรีหรือองค์กรนั้นเสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัย"
คนที่ใจเป็นธรรมอ่านแค่นี้ก็เข้าใจได้โดยง่ายว่า ศาลได้วินิจฉัยประเด็นนี้ชอบดีแล้ว
แต่ไอ้พวกนักวิชาการแดง มันบอกว่า ไม่ชอบ
--------------------------
ประเด็นกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้
เหตุเพราะ รัฐธรรมนูญมาตรา 108 กำหนดไว้ว่า หลังยุบสภาต้องจัดให้มีการเลือกตั้งภายใน 45 วัน และไม่เกิน 60 วัน มันเลยเป็นประเด็นที่ว่า ถ้าไปกำหนดวันเลือกตั้งใหม่จะขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 108 หรือไม่ ?
ผมอยากจะให้คุณผู้อ่าน จะไว้อย่างหนึ่งคือ รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดของประเทศ แต่หลักของรัฐธรรมนูญนั้นมีไว้แก้ปัญหาของชาติ ไม่ใช่มีไว้ให้เกิดปัญหา มากขึ้น
รัฐธรรมนูญจะต้องไม่มีทางตัน เพราะหากเจอทางตัน ก็ให้ไปใช้มาตรา 7 เพื่อแก้ปัญหาทางตันเพื่อความสงบสุขของชาติเป็นที่ตั้ง
หลักของรัฐธรรมนูญนั้นจะยึดหลักรัฐศาสตร์ร่วมกับหลักนิติศาสตร์ ไม่ใช่จะเคร่งนิติศาสตร์จนเกินไป จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชาติ
ดังนั้นคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจึงยึดหลักแก้ปัญหา มากกว่าสร้างปัญหา
เมื่อมีข้อสงสัยว่า กำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้หรือไม่ ศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ ย้ำ!! ว่าเป็นแค่คำแนะนำของศาลว่าสามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ และไม่ใช่การบังคับแต่อย่างใด
ซึ่งถ้ารัฐบาลและ กกต. เห็นพ้องกันว่า ไม่ควรกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ อยากเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. 57 ต่อไป ก็ไม่ผิดเช่นกัน
ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยในมาตรา 108 ด้วยการใช้คำว่า หาใช่บทบังคับเด็ดขาดไม่ ?
เมื่อการเลือกตั้ง เป็นส่วนร่วมของคนไทยทั้งชาติ เมื่อเกิดปัญหาขัดแย้งของคนในชาติ การเลือกตั้งที่จะจัดขึ้น มันเลยไม่เกิดเป็นส่วนร่วมที่พร้อมเพรียงกันของคนในชาติ
แล้วมันจะมีประโยชน์อะไร ถ้าการเลือกตั้งก่อให้เกิดวามขัดแย้งรุนแรงของคนในชาติ เป็นการเลือกตั้งเลือด
การเลือกตั้งมันต้องเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ปกติ ชอบธรรม และคนในชาติเห็นพ้องต้องกันว่าอยากเลือกตั้ง มันถึงจะเป็นการเลือกตั้งที่ดีในระบอบประชาธิปไตย
----------------
ตัวอย่าง คำว่า หาใช่บทบังคับเด็ดขาดไม่
มาตรา 72 บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ถามว่า ถ้าไม่ไปเลือกตั้ง ติดคุกหรือไม่?
นี่คือตัวอย่างของคำว่า หาใช่บทบังคับเด็ดขาดไม่
------------------------------
เช่นเดียวกันกับ มาตรา 181 ที่กำหนดให้หลังยุบสภา นายกรัฐมนตรีต้องอยู่รักษาการนายกรัฐมนตรี จนกว่าจะมีรัฐบาลใหม่มารับหน้าที่ต่อ
นี่ก็เช่นเดียวกัน แม้เป็นข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญ แต่หาใช่บทบังคับเด็ดขาดไม่
หากรักษาการนายกรัฐมนตีจะลาออก ก็ย่อมกระทำได้ หาใช่บทบังคับเด็ดขาดไม่ ตามหลักเสรีภาพในการประกอบอาชีพของประชาชนทุกคนตามรัฐธรรมนูญ
-------------------------------
ประเด็นสุดท้ายศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยว่า การกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ เป็นหน้าที่รับผิดชอบร่วมกันของนายกรัฐมนตรีและประธาน กกต. ตามพระราชกฤษฎีกายุบสภา พ.ศ. 2556 มาตรา 5 ครับ
พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๖
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๕๖”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่
มาตรา ๔ ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๗
มาตรา ๕ ให้นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการการเลือกตั้งรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ถ้าใครอยากเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. ก็ไปบอกรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ว่า อย่ากำหนดวันเลือกตั้งใหม่
เพราะศาลรัฐธรรมนูญแค่วินิจฉัยว่า สามารถกำหนดวันเลือกตั้งใหม่ได้ เท่านั้น
ถ้ารัฐบาลรักษาการเกิดอยากกำหนดวันเลือกตั้งใหม่จริง ก็ไปโทษรัฐบาลโน่น อย่ามาโทษศาลรัฐธรรมนูญ เข้าใจไหม ? อย่าโง่ !!
----------------
คำแนะนำของakecity
ถ้าได้เลือกตั้ง 2 ก.พ. ไปแล้ว ซึ่งหากไม่โดนฟ้องว่าการเลือกตั้งเป็นโมฆะ ก็ให้ไปใช้ รธน. มาตรา 93 ภายใต้บังคับมาตรา 109 (2) เพื่อเลือกตั้งให้ได้ สส. ครบตามจำนวนให้ได้ภายใน 180 วัน
คลิกอ่าน พรก.ฉุกเฉิน กับความโง่ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น