วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความโง่ของนิติราษฎร์กับคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา สว.






ได้ดูพวกนิติราษฎร์นำโดย วรเจตน์ กับ ปิยะบุตร แถลงเรื่องศาลไม่มีอำนาจรับคดีที่มา สว. เพราะในมาตรา 68 ศาลต้องรับเรื่องจากอัยการสูงสุดเท่านั้น

และพวกนิติราษฎร์ยังอ้างอีกว่า คดีนี้ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ศาลจึงรับคดีแก้ไขที่มา สว. ไม่ได้

-----------------------

ทำไมศาลรัฐธรรมนูญถึงสามารถรับคดีแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มา สว.ได้

ให้ดูจากรูปนี้นะครับ



ประเด็น ศาลใช้ข้อกล่าวหาใดในการรับพิจารณาคดีนี้ ซึ่งไม่ใช่กรณีรื่องการล้มล้างการปกครอง เพราะถ้าเป็นการล้มล้างการปกครอง ในวันนั้นศาลสามารถตัดสินยุบพรรคเพื่อไทยได้ทันที

แต่เป็นประเด็นที่ผมขีดเส้นใต้สีฟ้าไว้ คือ

ข้อความที่ขีดเส้นใต้สีฟ้า คือ หรือเพื่อได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

จุดแรกให้สังเกตคำว่า หรือ

ซึ่งแปลว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องเกี่ยวกับการล้มล้างการปกครองฯ เท่านั้น ที่ศาล รธน.จะรับพิจารณาคดีได้

แต่ศาลสามารถรับเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการได้มาซึ่งอำนาจที่ไม่ได้เป็นไปตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ได้เช่นกัน

เพราะคดีแก้ไขที่มา สว. นั้น มีข้อกล่าวหาเรื่องเสียบบัตรแทนกัน หรือข้อกล่าวหาเรื่องที่ประธานรัฐสภาไม่ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง ซึ่งทั้งสองข้อกล่าวหานี้ผิดรัฐธรรมนูญหลายมาตรา จึงทำให้ศาล รธน. จึงรับคดีนี้มาวินิจฉัยได้ครับ

---------------------

จากมาตรา 68 ทำไมศาลรัฐธรรมนูญไม่จำเป็นต้องรับเรื่องผ่านอัยการสูงสุดเท่านั้น

ให้ดูจากรูปประกอบด้านบนในมาตรา 68 อีกรอบ ตรงที่ผมขีดเส้นใต้สีเขียวไว้ และดูรูปด้านล่างนี้ประกอบ



ให้สังเกตคำว่า สิทธิ ซึ่งหมายถึง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวมีสิทธิยื่น หรือจะไม่ใช้สิทธิยื่นก็ได้ เพราะคำว่า สิทธิ คือทำก็ได้หรือไม่ทำก็ได้ ไม่ได้บังคับ

ถ้าจะบังคับให้ผู้ทราบการกระทำต้องยื่นให้อัยการสูงสุดตรวจสอบก่อนเท่านั้น จะต้องไม่ใช้คำว่า สิทธิ ในมาตรา 68 แต่ต้องใช้คำว่า ต้อง หรือ มีหน้าที่ แทนในมาตรา 68 นี้

ตัวอย่างเช่น ผู้ทราบการกระทำต้องยื่นให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยฯ

และเมื่อดูประโยคที่ผมยกตัวอย่างเปรียบเทียบ "ผมทำการบ้านเสร็จแล้วส่งให้แม่ตรวจทานก่อน และไปส่งให้ครูตรวจในวันรุ่งขึ้น"

จากประโยคดังกล่าว ผมคือผู้ที่ส่งการบ้านให้แม่ตรวจทาน และผมก็ไปส่งให้ครูตรวจอีกครั้งในวันรุ่งขึ้น (ไม่ใช่แม่ ที่ไปส่งการบ้านให้ครูในวันรุ่งขึ้น)

เช่นเดียวกัน อัยการสูงสุด ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นคนนำเรื่องไปยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญได้เท่านั้น

รายละเอียดเกี่ยวกับมาตรา 68 แบบจะจะกว่านี้ ตามไปอ่านได้ที่
คลิกอ่าน ความโง่ของนิติราษฎร์ กับมาตรา 68 ตอน 1

---------------

ส่วนที่นายวรเจตน์ ได้ยกตัวอย่างว่า ถ้าใคร ๆ ก็ส่งเรื่องให้ศาล รธน.ได้ตามตามมาตรา 68 จะทำให้ศาล รธน. จะมีคดีล้นมือนั้น

ผมขอตอบว่า เป็นการอ้างง่าย ๆ แบบมั่ว ๆ เพราะตั้งแต่ศาล รธน.วินิจฉัยว่า ศาลสามารถรับเรื่องโดยตรงจากประชาชนได้ตามมาตรา 68 มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ทุกวันนี้ก็ไม่ได้มีประชาชนมากมายไปยื่นเรื่องต่อศาลรธน. ตามที่นายวรเจตน์อ้างเลย

ก็ขนาดอัยการสูงสุด รับเรื่องได้แทบทุกเรื่องในราชอาณาจักร แต่อัยการสูงสุดมีตำแหน่งเดียวคนเดียว งานมันควรจะล้มมือมากกว่าศาลรธน.เสียอีก

ฉะนั้นประเด็นอ้างชุ่ย ๆ ว่า ถ้าใครก็ยื่นตรงต่อศาลรธน. ตามมาตรา68 นั้น จะทำให้ศาลรธน.งานล้มมือ จึงไม่เป็นความจริงครับ

เพราะคงไม่มีใครที่ไหน อยู่ดี ๆ ไปกล่าวหาใครล้มล้างการปกครองง่าย ๆ หรอกครับ เพราะอาจโดนฟ้องร้องทีหลังได้


------------------

ต่อไปนี้ผมจะยกแค่ความผิดในประเด็นสำคัญ ๆ บางประเด็นมาอธิบาย

เช่นเรื่องการเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน

การเสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน ศาลตัดสินว่า ผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 126 วรรค 3

ซึ่งมาตรา 126 วรรค 3 เขียนไว้ว่า

"สมาชิกคนหนึ่งย่อมมีเสียงหนึ่งในการออกเสียงลงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเพื่อเป็นการชี้ขาด"

การที่สส.เสียบบัตรแทนกัน ก็เท่ากับใช้สิทธิเกิน 1 คน 1 เสียง หรือเปรียบเสมือนในการเลือกตั้ง มีคนใช้บัตรประชาชนของคนอื่นมาลงคะแนนแทนกัน

ส่วนตรรกะของนายปิยะบุตร แห่งนิติราษฎร์ ในเรื่องเสียบบัตรแทนกันนั้น

นายปิยะบุตร ได้อ้างว่า "ถ้ามีคนเสียบบัตรแทนกันจริง ก็มีเสียงแค่ 8 เสียงเท่านั้น เมื่อหัก 8 เสียงออกไป ก็ยังเหลือเสียงส่วนใหญ่ที่ยังสามารถผ่านกฎหมายนี้ได้"

ตรรกะนายปิยบุตรนั้น เห่ยมาก ๆ ถ้าคิดแบบนายปิยะบุตร ก็จะทำให้นายโอ๊คก็ไม่ต้องโดนปรับตกในการพกโพยเข้าห้องสอบก็ได้ ตามตัวอย่างนี้

โอ๊ค พานทองกุ๊ย ได้นำโพยเข้าห้องสอบตามคำแนะนำของนายเฉลิมรุ่นพี่ จนถูกอาจารย์จับได้ว่า ทุจริตในการสอบ

แต่เมื่อได้ตรวจข้อสอบของโอ๊คแล้วนำมาเทียบกับโพย พบว่า มีข้อสอบที่ตรงกับโพยเพียง 10 ข้อเท่านั้น

แต่โอ๊คทำข้อสอบได้คะแนนทั้งหมด 60 คะแนน เมื่อหักออก 10 คะแนนที่ตรงกับโพย

โอ๊ค จึงเหลือคะแนน 50 คะแนน พอดี โอ๊คจึงสอบไม่ตก

ด้วยตรรกะควาย ๆ เช่นนี้ โอ๊คเลยสอบผ่าน และไม่ถึงขั้นต้องปรับตก หรือไล่ออกแต่อย่างใด

5555/@akecity


นายปิยะบุตร ยังแถในเรื่องนี้ต่อไปอีกว่า ถ้าอย่างนั้น ต่อไปเสียงข้างน้อยในสภาอยากจะป่วนล้มกฎหมายอะไร ก็แค่แกล้งเสียบบัตรแทนกันก็ได้น่ะสิ เพราะพอเสียบบัตรแทนกัน ก็จะทำให้ขั้นตอนการออกกฎหมายผิดไปจากบรรทัดฐานของคำตัดสินศาล รธน. ที่เคยตัดสิน

ผมว่านายปิยะบุตร นี่มันโง่จริง ๆ กรณีฝ่ายเสียงข้างน้อยจะล้มคะแนนเสียงข้างมาก ด้วยการที่เสียงข้างน้อยเสียบบัตรแทนกันนั้น ย่อมไม่มีทางล้มคะแนนเสียงส่วนใหญ่ได้ เพราะมันเป็นคนละฝ่ายกัน จึงนำวิธีนี้มาใช้ล้มอีกฝ่ายไม่ได้

แต่กรณีแก้ไขที่มา สว. ฝ่ายเสียงข้างมาก กลับมี สส. พวกเดียวกันที่เสียบบัตรลงคะแนนแทนกัน ก็เพราะมันเป็นพวกเดียวกันนั่นแหละ กฎหมายจึงได้มีอันตกไป เพราะมีการโกงคะแนนในเสียงข้างมากเกิดขึ้น !!

เพราะศาลคงจะพิจารณาว่า เฉพาะคะแนนที่ชนะการโหวตนั้นมีการโกงคะแนนกันหรือไม่ (ผมเชื่อว่าศาลคงวินิจฉัยเช่นนั้น)

----------------------

ประเด็น ประธานตัดสิทธิ สส. และ สว. ในการแปรญัตติ

ศาลตัดสินว่า การที่ประธานในที่ประชุมรัฐสภา ตัดสิทธิการขอแปรญัตติของ สส. และ สว. เป็นจำนวนมากนั้น

ซึ่งผมก็ดูการประชุมใันวันนั้นเช่นกันว่า  การทำหน้าที่ของประธานสภาได้ตัดสิทธิการขอแปรญัตติของสส. และ สว. รวมกันทุกวาระมีร่วมร้อยคนอย่างน่าเกลียด โดยตัดสิทธิ สส. และสว. ไม่ให้แปรญัตติในแต่ละวาระเป็นจำนวนมาก เพราะประธานเร่งรีบให้กฎหมายผ่านไปเร็ว ๆ ตามใบสั่ง

ศาล รธน. ได้ตัดสินในเรื่องนี้ว่า ประธานรัฐสภา กระทำผิดรัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรค 2 และมาตรา 125 วรรค 1 และวรรค 2

มาตรา 3 วรรค 2 เขียนว่า "การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งอค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม"

มาตรา 125 วรรค 1 เขียนว่า "ประธานสภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการของสภานั้น ๆ ให้เป็นไปตามข้อบังคับ รองประธานมีหน้าที่ตามที่ประธานมอบหมายและปฏิบัติหน้าที่แทนประธานเมื่อประธานไม่อยู่หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้"

มาตรา 125 วรรค 2 เขียนว่า "ประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา หรือผู้ทำหน้าที่แทน ต้องวางตนเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่"

ซึ่งเมื่อเราดูมาตรา 3 และมาตรา 125 แล้วนำไปเปรียบเทียบกับพฤติกรรมของประธานรัฐสภาและประธารวุฒิสภา จะเห็นได้ว่า หน้าที่อย่างไม่เป็นกลาง  ตัดสิทธิการขอแปรรญัตติของ สส. และ สว. เป็นจำนวนมากแบบน่าเกลียดมาก

จึงถือว่า ประธานทั้งสองคนปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นกลาง ไม่เป็นไปตามข้อบังคับ ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรม


ตรรกะของนายปิยะบุตร ในเรื่องนี้ได้แถว่า "ถ้ายึดตามคำตัดสินของศาล ต่อไปฝ่ายค้ายจะป่วนรัฐบาลทุกเรื่องด้วยการเสนอขอแปรญัตติกันทุกคน ยิ่งจะทำให้การประชุมในแต่ละเรื่องล่าช้าอย่างมาก"

เอ่อ.. ไอ้ปิยะบุตร เอ็งมันแถเอาแต่ได้นี่หว่า อย่างเช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา การประชุมรัฐสภาในหลาย ๆ เรื่อง เขาเปิดโอกาสให้ สว. สส. อภิปรายกันได้เต็มที่ บางคนอภิปรายเรื่องเดียวเป็นวัน ๆ ก็เคยมีมาแล้ว หรืออภิปรายข้ามไปอีกวันต่อ ก็เคยมี เพราะนั่นเป็นสิทธิและหน้าที่โดยชอบธรรมของ สส.และ สว.

โดยเฉพาะเรื่องสำคัญ ๆของประเทศไทย อย่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ยิ่งต้องเปิดให้แสดงความเห็นอย่างเต็มที่ มันจะเสียเวลาประชุมจะกี่วันก็ชั่ง ก็ไม่เห็นเป็นไร ไม่รู้พวกมึงจะรีบเร่งไปทำไม

ไอ้ควรที่เร่งรีบคือ แก้ปัญหาปากท้องประชาชน ไม่ใช่แก้ไขรัฐธรรมนูญ

การที่ประธานสภาไปตัดสิทธิการแสดงความเห็น สว. และ สส. คือการริดรอนสิทธิและหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาชัด ๆ

--------------------

จากที่ผมยกตัวอย่างมาคร่าว ๆ คงพอมาออกกันแล้วว่า พวกนักวิชาการชั่ว ๆ สายล้มเจ้าอย่างพวกนิติราษฎร์ มันพยายามแถเพื่อช่วยรัฐบาลชั่วและสส.ขี้ข้าทักษิณอย่างไร

ยิ่งไอ้พวกคนที่ไปฟังพวกนิติราษฎร์แถลง ยิ่งท่าทางโง่มาก ๆ  พวกนี้มันคงไม่เคยอ่านรัฐธรรมนูญกันแหง ๆ เพราะเอาแต่เชื่อไอ้พวกนิติราษฎร์มันสั่งสอนเท่านั้น


คลิกอ่าน ความโง่ของนปช. นิติราษฎร์ เรื่องอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น