ฮาเรื่องไร้สาระบ้าง ฮาเรื่องมีสาระบ้าง กับนักการเมืองและบุคคลสาธารณะ / ใหม่เมืองเอก (akecity)
วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557
ความโง่อาจารย์พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย ในมาตรา 7 และนายกคนกลาง
จากรายการเจาะข่าวเด่นกับ สรยุทธ ในประเด็นถอดถอนนายกรัฐมนตรี ก็ได้เชิญอาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิยาลัยที่ชื่อ พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย กับ สว.สรรหา นายไพบูลย์ นิติตะวัน มาถกเถียงกัน
ประด็นที่น่าสนใจและถกเถียงมากที่สุดก็คือ เรื่อง การใช้มาตรา 7 กับการมีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
ผมไม่เข้าใจจริง ๆ ทำไมพวกนักวิชาการบางคนพยายามจะแถว่า มีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนกลาง หรือ มีนายกที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งไม่ได้
ทั้ง ๆ ที่เมื่อมันเกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีในรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญก็ได้มีมาตรา 7 ไว้เป็น ทางออก ของประเทศอยู่แล้ว
กรณีตัวอย่างที่ยกขึ้นมาถกในรายการคือ ถ้ายิ่งลักษณ์สิ้นสุดจากการเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี อาจจากการถูกศาลรัฐธรรมนูญถอดถอน หรือจากการตีความตามรัฐธรรมนูญที่ว่า ครม.รักษาการได้สิ้นสุดลงจากการไม่สามารถเปิดประชุมสภาได้ก็ตาม หรือ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดก็ตามแต่
สว.สรรหา ได้ยืนยันว่า สามารถมีนายกรัฐมนตรีที่มาจากคนกลางได้ ซึ่งประเด็นนี้ผมก็เคยได้อธิบายในบทความ ยิ่งลักษณ์ยุบสภา ลาออก ใช้มาตรา 7
แต่ อาจารย์พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย จากรัฐศาสาตร์จุฬา ก็ไม่ต่างอะไรกับพวกนิติราษฎร์ ที่พยายามจะยืนกระต่ายขาเดียว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดไว้
เฮ่อ.. ผมจะไม่ขอเถียงเรื่องนี้กันยาว ผมจะขอยกตัวอย่างสั้น ๆ ง่าย ๆ ให้พวกนักวิชาการจอมแถทั้งหลายให้เห็นเลยว่า
นายกรัฐมนตรีไทยยังมาจากคนกลางได้
------------------------
คณะรัฐมนตรีรักษาการยิ่งลักษณ์ ตายโหงยกคณะ !!
สมมุติว่า ในขณะที่มีการประชุม ครม.รักษาการยิ่งลักษณ์ ในสถานที่แห่งหนึ่งอย่างเช่น ที่กองทัพอากาศ
แต่แล้วจู่ ๆ เกิดมีเครื่องบินโดยสารที่กำลังจะมาลงที่สนามบินดอนเมืองเกิดขัดข้อง แล้วบินลงมาตกลงที่สถานที่ประชุม ครม. พอดี จนเป็นอุบัติเหตุครั้งใหญ่ ที่ทำให้ ครม.รักษาการของยิ่งลักษณ์ตายทั้งคณะหมดทุกคน
รักษาการนายกรัฐมนตรีก็ตาย รัฐมนตรีรักษาการทุกคนก็ตายหมดในที่เกิดเหตุ เป็นเหตุให้ประเทศไทยไม่มีรัฐบาลรักษาการอีกต่อไป
ถามว่า แล้วประเทศไทยจะหานายกรัฐมนตรีคนใหม่มาแทนจากที่ไหน ในเมื่อปัญหาการเลือกตั้ง 2 ก.พ. ก็ยังไม่จบ และยังไม่รู้ว่าจะเป็นโมฆะหรือไม่ ?
ตามหลักการที่ประเทศจะขาดรัฐบาลไม่ได้ สภาผู้แทนราษฎรก็ยังไม่มี ก็จะหานายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งไม่ได้ แล้วจะทำอย่างไร ?
แม้แต่ยิ่งลักษณ์ก็ยังพูดเองเสมอว่า จะขาดจากการรักษาการนายกรัฐมนตรีวันเดียวก็ไม่ได้ นั่นแสดงว่า ประเทศจะต้องมีผู้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีอยู่ตลอด หากไม่มีผู้ทำหน้าที่นายกรัฐมนตรี ก็ต้องรีบสรรหาผู้ที่มาทำหน้าที่นายกรัฐมนตรีให้เร็วที่สุด
ตัวอย่างที่ผมสมมุตินี้ ไอ้พวกโง่ก็อย่ามาแถว่าเหตุการณ์แบบนี้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้จริงล่ะ
เพราะเรื่องที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ในโลกก็เกิดขึ้นให้เราได้อึ้งอยู่เสมอ ๆ อย่างเช่น เครื่องบินพุ่งชนตึกเวิร์ลเทรดเซ็นเตอร์ หรือ กรณีเครื่องบินสายการบินมาเลเซียแอร์ไลน์บินหายไปอย่างไร้ร่องรอย
(ไม่ต้องถึงขนาดเครื่องบินชนก็ได้ แค่ยิ่งลักษณ์หกล้มหัวฟาดพื้นตายก็อาจเป็นได้ 555)
---------------------
เมื่อรัฐบาลรักษาการตายยกคณะ ก็ต้องใช้มาตรา 7 ในการหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ แต่เข้ามาเป็นแค่เฉพาะกาลเท่านั้น จนกว่าจะมีการเลือกตั้งเสร็จสิ้นและสรรหานายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้ง ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
(มันอยู่ที่ว่า นายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งนั้น จะตีความว่า เป็นแค่ตำแหน่งรักษาการนายกรัฐมนตรี หรือเป็นนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจเต็ม แต่เป็นแค่เฉพาะกาลเท่านั้น)
--------------------
วิธีการเรียงลำดับรัฐธรรมนูญถึงการได้มาซึ่งตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
1. รธน. มาตรา 171 นายกรัฐมนตรีต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
2. แต่เมื่อสภาผู้แทนราษฎรยังไม่มี จึงไม่สามารถสรรหานายกฯ ตามมาตรา 171 ได้
3. ก็ต้องหยิบ รธน. มาตรา 7 มาใช้ประกอบ
มาตรา 7 ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินืจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
4. ตามหลักประเพณีตั้งแต่เปลี่ยนแปลงปกครองเป็นประชาธิปไตย หากไม่มีสภาผู้แทนราษฎร ก็ให้วุฒิสภาทำหน้าที่แทนสภาผู้แทนราษฎร
5. ประธานวุฒิสภาทำหน้าที่แทนประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อสรรหานายกรัฐมนตรี ตามความเห็นชอบของวุฒิสมาชิก (ซึ่งถ้าตามความเห็นของผมควรเลือกจากสมาชิกวุฒิสภาที่มาจากการเลือกตั้งก่อน) แล้วทูลเกล้าถวายให้ทรงแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
หากตอนนั้นเกิดว่างวุฒิสภาเช่นกัน เช่นอยู่ในช่วงกำลังเลือกตั้ง ก็ให้รักษาการประธานหรือรักษาการรองประธาน สว. สรรหา นายกรัฐมตรีมาจากคนกลางแทน
แม้กระทั่งหากประธานวุฒิสภาอย่างนายนิคม ไวรัชพานิช เกิดถูกถอดถอน ก็ให้รองประธานวุฒิสภา ทำหน้าที่แทนประธานวุฒิสภา (โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 7 นั่นแหละ)
เมื่อเรียงลำดับตามกฎหมายแบบนี้ ก็สามารถหานายกรัฐมนตรีได้ ไม่ใช่ว่า พอพิจารณาเลยมาตรา 171 ไปแล้ว จะไปอ้างย้อนกลับหลังไปอีกว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก สส. เท่านั้นตามมาตรา 171 อีก ซึ่งแบบนี้เขาเรียกว่า พวกแถ !!
สรุปง่าย ๆ ว่า การที่พวกนักวิชาการเอียงแดงพยายามจะแถว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้งเท่านั้น จึงเป็นเรื่องตอแหลโกหกอย่างหน้าด้าน ๆ ครับ
---------------
ตัวอย่าง กรณียูเครน
อย่างเช่น ตอนนี้ที่ยูเครน รัฐธรรมนูญยูเครนก็กำหนดว่า ประธานาธิบดียูเครนต้องมาจากการเลือกตั้ง
แต่เมื่อประเทศเกิดวิกฤติ รัฐสภายูเครนก็แต่งตั้งผู้ที่มาเป็นประธานาธิบดีชั่วคราวไปแล้ว โดยมีสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ให้การรับรองประธานาธิบดีชั่วคราวของยูเครนที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
หรืออย่างที่อิตาลี ก็มีนายกรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งถึง 3 คนติดต่อกันแล้วเป็นต้น เพื่อเข้ามาแก้วิกฤติเศรษฐกิจประเทศ
การที่พวกนักวิชาการที่พยายามจะบอกว่า ไทยเรามีนายกรัฐมนตรีจากคนกลางไม่ได้นั้น แสดงว่า นักวิชาการพวกนี้มันเห็นแก่ยิ่งลักษณ์มากกว่าประเทศชาติแน่นอน
---------------
ไม่รู้อาจารย์พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย คุณจบรัฐศาตร์มาได้ยังไง เพราะคุณไม่ได้เข้าใจหลักรัฐศาสตร์ที่แท้จริงเลย เพราะคุณเอาแต่เถรตรงในกฎหมายมากเกินไป
ทั้ง ๆ ที่รัฐธรรมนูญไทยเราจะใช้หลักรัฐศาสตร์เพื่อความมั่นคงของประเทศอยู่ด้วย
มาตรา 7 นี่แหละคือหลักการรัฐศาตร์ในรัฐธรรมนูญ เพื่อให้ประเทศมีทางออก
คลิกอ่าน เมื่ออิตาลีมีนายกรัฐมนตรีที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
สมกับควายแดงจริงๆ....แถเหมือนกันหมด คุณใหม่ตอบกลับได้สุดยอดมาก...
ตอบลบ1)
ตอบลบกรณีที่ คุณสุเทพ ต้องการที่จะขอพระราชทาน นายกฯ ตามมาตรา ๗ แห่ง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ นั้นโดยบทบัญญัติแห่งมาตราดังกล่าวนั้นกล่าวว่า"ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใดให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข "
ซึ่งอยู่ในหมวดที่ 1 บททั่วไป
>โดยคุณสุเทพต้องการจะเรียกให้ ประธานทั้งสามศาลอันได้แก่ ศาลฎีกา ศาลปกครองสูงสุด และศาลรัฐธรรมนูญ
รวมไปถึงประธาน กกต. ด้วย
และให้ ว่าที่ประธาน สว.(ที่เพิ่งถูกเลือกขึ้นมาใหม่ แต่ยังไม่ได้รับกาตโปรดเกล้า)
เพื่อที่จะมาร่วมพูดคุยถึง นายกพระราชทาน ตามมาตรา ๗
>หากจะพิเคราะห์ในแง่มุมของกฎหมายรัฐธรรมนูญ อันเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายมหาชน การตีความตามตัวบทกฎหมายนั้นยิ่งเป็นกฎหมายสูงสุดด้วยแล้วจำต้องตีความทั้งตัวรัฐธรรมนูญอันรวมไปถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญทั้งบริบทของบัญญัติในมาตราอื่นๆและกฎหมายลำดับรองมาด้วย
โปรดติดตามในโพส ต่อไป
ดูพระราชดำรัส ของสมเด็พระเจ้าอยู่หัวแก่ คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดและคณะผู้พิพากษาในศาลฎีกา
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=94900000
2)
เมื่อหากต้องการจะได้นายกฯ ตามมาตรา ๗ ดังกล่าวเป็นการคัดสรรที่มิได้มาโดยชอบตามระบอบประชาธิปไตย โดยมิได้ปฏิบัติตาม บทบัญรัฐธรรมนูญซึ่งเป็น กฎหมายสูงสุด กล่าวคือ โดยสถานะการณ์ปกตินั้น
เมื่อรัฐบาลชุดเก่ามีการ ยุบสภาแล้ว ต้องมีการตราพระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้ง
เมื่อมีการเลือกตั้งแล้ว ก็จะได้สภานิติบัญญัติ ซึ่ง นายกรัฐมนตรีต้องเป็น สส.ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง เช่นนี้แล้ว จึงจะถือว่า มีการยึดและโยงต่อประชาชนโดยตรง
(ดู รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๗๑ ประกอบ ๑๗๒) เนื่องจากผ่านการคัดสรรจากผู้มีอำนาจที่แท้ จริงในระบอบประชาธิปไตย นั่นก็คือ "ปวงชนชาติไทย"
ฉะนั้น
>> "ประชาชนคือ คนกลาง " << บุคคลที่มิได้มาจากการตัดสินของกลุ่มบุคคลจำพวกใด (Minority Right)
ซึ่งมิได้กระทำตามกติกาของบ้านเมือง แถมยังทำตัวเป็นผู้ที่มีอำนาจล้ำพ้น
ทั้งยังไม่ได้ถามความต้องการจากประชาชนส่วนใหญ่ (Majority Rules) ว่าคิดเห็นหรือมีความต้องการด้วยหรือไม่
3)
การที่จะหาทางออกของประเทศนั้นต้องหาทางออกตามกฎหมายที่ได้บัญญัติเอาไว้ ไม่ใช่เอากฎหมายมาสู้กัน เพื่อนำกฎหมายมาใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน
>>หาใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะของประเทศไม่
เพราะฉะนั้น กฎหมายจึงเป็นสิ่งที่ขาดมิได้เลยจากสังคมไม่ว่าจะเป็นรัฐไหนๆบนโลกสังคมในโลกใบนี้
หากประเทศเราอ้างว่า เราเป็นนิติรัฐ (Legal State )ทั้งยังมีหลักนิติธรรม (Rule of Law)
เป็นแต่เพียงในทางเนื้อ แต่ทางปฎิบัติไม่ใช่ เพราะกฎหมายทุกๆวันนี้ผู้คนต่างไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย กล่าวคือ กฎหมายไม่มีความศักดิ์สิทธิ์นั้นเองอันเนื่องมาจากผู้ที่ต้องปฎิบัติตามกฎหมายและรักษากฎหมาย มิได้ปฎิบัติหรือกระทำตาม ละเลยจน กลายมันเป็นสิ่งที่ติดตัวเป็นนิสัย จนเคยตัว จนลืมไปว่ากฎหมายเป็นเครื่องที่คอยควบคุมสังคมเพื่อให้เกิดความสงบสุข
มิใช่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อใช้บังคับแก่บุคคลจำพวกใดพวกจำหนึ่งเท่านั้นซึ่งเป็นการเลือกปฎิบัติ
ความยุติธรรม (Justice) จึงยังไม่สามารถเกิดแก่สังคม ณ ปัจจุบันได้
หากยังไม่เป็นธรรม -> ข้อพิพาทจึงไม่ยุติ
ทำให้ เป็น ความอยุติธรรม
ความ ยุติ - ธรรม
จะเกิดได้ ต้องเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย -> แล้ว จึงจะยุติด้วยสันติวิธี
แค่คุณอ้างพระราชดำรัวในหลวง ปี 49 คุณก็ผิดบริบทแล้วครับ
ลบไปอ่านเรื่องนี้ที่ นายกรัฐมนตรีมาตรา 7 ปี 2557 ไม่ใช่นายกพระราชทาน (คลิกที่นี่)
และสุญญากาศทางการเมืองก็เกิดขึ้นแล้ว ตามมาตรา 171 และ 180
แนะนำอ่าน สุญญากาศทางการเมืองเกิดขึ้นแล้วตามมาตราท171 (คลิกที่นี่)
แนะนำอ่าน ดูชัด ๆ คณะรัฐมนตรีสิ้นสุดแล้วตามมาตรา 180
ประเดนคือ ทำไมต้องนายกคนกลาง ทำไมต้องให้พวกมึงเป็นคนเลือก ในเมื่อพวกมึงเองเลือกกันเอง แล้วมันจะ กลาง ตรงไหน การทีจะให้ประชาชนทั้งประเทศเป็นคนเลือก มันไม่กลางใช้ไหม มันมีการซื้อเสียงขายสิทธิ์ กันสิท่า แล้ว กกต. มีไว้ทำเหี้ยอะไร ทำไมต้องให้ สว. เป้นคนเสนอนายกคนกลาง ทำไมต้องให้ สุเทพ เป็นคนเสนอนายกคนกลาง สว.เอง มาจากการเลือกขื้นมาของ ประชาชนทุกคนไหม มีสิทธิ์อะไรทำไมต้องใช้สิทธิ์แทน ประชาชนทั้งประเทศ
ตอบลบนายกคนกลาง คงไม่น่าจะเกิด แต่จะมีนายกรัฐมนตรีที่มาจาก สว. ที่มาจากการเลือกตั้ง
ลบ