วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิเคราะห์ คลิปเถียงให้รู้เรื่อง ศิริโชค โสภา สอนมวย เอกชัย สปป.







ในรายการเถียงให้รู้เรื่อง ในคืนวันพุธที่ 26 มีนาคม 2557 ที่ผ่านมา

ได้เชิญ อดีต สส. ประชาธิปัตย์ นายศิริโชค โสภา ชนกับ นายเอกชัย รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ ม.สยาม หนึ่งในพวกสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย หรือ สปป. (หรือพวกนิติราษฎร์แบ่งเซล)

รายการในวันนี้เป็นที่สะใจผมมาก เพราะศิริโชค ได้สั่งสอนนายเอกชัย จอมแถ จนแถสีข้างถลอกเหงื่อออกซิก ๆ ในห้องแอร์

ที่จริงนายเอกชัย แห่ง สปป. มีกรณีแถหลายเรื่อง ซึ่งผมเคยว่าจะเขียนหลายครั้ง แต่ไม่ได้เขียนสักที อาทิเช่น การตีความมาตรา 68 หรือล่าสุดเรื่องกล่าวหาว่าผู้ตรวจการไม่มีสิทธิยื่นการเลือกตั้งไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญให้ศาล รธน. วินิจฉัย

แต่เอาเถอะผ่านไปก่อน

แต่ในคลิปรายการเถียงให้รู้ ในคลิปนี้ เอกชัยโชว์โง่ไม่เข้าใจความแตกต่างระหว่างคำว่า "การเลือกตั้งทั่วไป" กับคำว่า "วันเลือกตั้ง" มีความแตกต่างกันอย่างไร

ศิริโชคก็พยายามอธิบายไปหลายรอบ แต่เอกชัยก็จะแถไปข้าง ๆ คู ๆ แต่ผมก็ดูออกว่า เอกชัยรู้ตัวเหมือนกันว่า ตนพลาดแพ้ประเด็นนี้แก่ศิริโชคเสียแล้ว

คนดูทางบ้านฟังศิริโชคอธิบายก็เข้าใจโดยง่าย แต่เอกชัยกลับแถไม่เข้าใจว่า การเลือกตั้ง แตกต่างจาก วันเลือกตั้ง

ผมขออธิบายง่าย ๆ ว่า

กรณีที่ 1 ถ้าเขตใดมีการเลือกตั้งทั่วไปไปแล้ว แต่ในเขตใด ๆ ที่ไม่อาจมีผู้ชนะการเลือกตั้งได้ ไม่ว่าจากกรณีใดที่กำหนดในรัฐธรรมนูญก็ตาม ก็ยังให้มีการเลือกตั้งซ่อมใหม่ในเขตนั้น ๆ ได้ หรือให้มีวันลงคะแนนใหม่ได้

กรณีที่ 2 ถ้าเขตใด ๆ ที่ยังไม่มีทั้งผู้สมัคร และยังไม่มีการเลือกตั้งทั่วไปเกิดขึ้นได้เลย มันจะขยายไปให้มีการเลือกตั้งซ่อมแบบกรณีแรกไม่ได้ 

เรื่องง่าย ๆ แค่นี้ เอกชัย แห่ง สปป. จอมแถไม่ยอมเข้าใจ (เพราะถ้ายอม ก็แพ้น่ะสิ)

และที่เอกชัยหน้าแตกสุด ๆ ก็คือ ประเด็นเรื่องเสียบบัตรแทนกัน ที่ศิริโชคถามไปว่า "ถ้านักศึกษาโกงข้อสอบไป 1 ข้อ อาจารย์เอกชัยจะทำอย่างไร จะหักคะแนนข้อนั้นข้อเดียว หรือจะปรับตกนักศึกษาคนนั้นไปเลย"

ทีแรกประเด็นนี้เอกชัยคิดว่าตัวเองตอบโต้กลับได้ดี ดูเหมือนจะพอใจที่ตัวเองตอบ เพราะเอกชัยตอบว่า "ถ้านักศึกษาสอบ 100 คน ผมก็จะปรับตกแค่นักศึกษาที่โกงคนเดียว ไม่ใช่ปรับตกคนอื่น ๆ ที่ไม่ได้โกงไปด้วย"

แต่ศิริโชคตอบกลับว่า "สงสัยอาจารย์จะไม่เคยทำงานเป็นทีม ถ้าทีมเราไปสอบแข่งขัน แล้วกรรมการจับได้ว่าทีมเราเจตนาโกง กรรมการก็ต้องปรับแพ้ปรับตกทั้งทีม ก็เหมือน พรรคเพื่อไทยพยายามจะดันกฎหมายฉบับนี้ ซึ่งต้องทำงานเป็นทีม แล้วเสียบบัตรแทนกัน ก็ต้องปรับผิดทั้งทีม"

ผมขอแทรกขยายความนิดนึง กรณีแพ้ทั้งทีม หรือแพ้ฟาวล์ทั้งทีม ก็ต้องดูเป็นประเภท ๆ ไป คือถ้าเป็นการสอบแข่งขันที่เป็นทีม ถ้าทีมนั้นถูกจับได้ว่ามีเจตนาโกง (ซึ่งต่างจากทำผิดกติกา) กรรมการก็สามารถปรับแพ้ทั้งทีมได้

ในกรณีกีฬาก็ต้องดูประเภท ๆ ไป แต่ที่ผมอยากจะยกตัวอย่างกรณีที่เห็นชัดเจนมาก ก็คือ ศึกฟุตบอลภูมิภาคดิวิชั่น 2 หนองบัวลำภู FC ถูกปรับแพ้สกลนคร FC 1:2 เนื่องจากไฟสนามขัดข้อง แล้วเจ้าหน้าที่สนามไม่สามารถแก้ไขไฟให้กลับมาใช้ได้ตามปกติ ไม่ทันตามเวลาที่กำหนด 

ทีมหนองบัวลำภู FC จึงถูกปรับแพ้ทั้งทีม ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ความผิดของนักฟุตบอลแต่อย่างใด จากกรณีที่ผมยกตัวอย่างนี้  พอจะมองภาพออกไหมครับ

แต่ในการออกกฎหมายระดับประเทศ ยิ่งต้องบริสุทธิ์ยุติธรรมและถูกต้องตามรัฐธรรมนูญทุกขั้นตอน จึงจะเป็นกฎหมายที่ชอบธรรม


โอย!! ยังมีอีกหลายประเด็นที่เอกชัย โดนศิริโชคสอนมวยแบบจะจะ เข้าตา ไปดูคลิปเอาเองเถอะครับ มันส์ดี

ส่วนผู้เชี่ยวชาญที่เป็นอาจารย์จากรัฐศาสตร์จุฬา ก็พูดจาดี มีหลักการดีมาก





ถ้าคุณผู้อ่านได้ดูคลิปทั้งหมดจนจบ จะเห็นได้ว่าช่วงท้าย นายเอกชัย สปป. ได้พยายามหาทางเจ็บตัวน้อยลง ด้วยการพยายามสนับสนุนสิ่งที่ศิริโชค โสภา พูดในหลายประเด็น

ส่วนผู้เชี่ยวชาญที่มาในวันนี้ ถ้าพวกเสื้อแดงดูก็ต้องโทษว่า ผู้เชี่ยวชาญคงเป็นพวกศิริโชค ทำให้เอกชัยเสียเปรียบ

แต่ถ้าดูอย่างใจเป็นธรรม เราจะรู้ว่า ผู้เชี่ยวชาญพูดได้ดีแล้ว

ก่อนจบบทความ ประโยคที่ชี้ให้เห็นว่า เอกชัย เริ่มเป๋มากที่สุดคือ

"รัฐธรรมนูญเขียนว่า ถ้ายุบสภาก็ต้องไปเลือกตั้ง ก็ต้องปฏิบัติตามนั้น แต่ถ้ารัฐธรรมนูญเขียนว่า ยุบสภาแล้วให้ไปปฏิรูปก่อน ถ้าเขียนอย่างนั้นไว้ สปป.เราก็จะไม่มีปัญหา"

เฮ่อ.. เอกชัย หนอ เอกชัย ตรรกะเห่ยมากเลยว่ะ

----------------

ข้อคิดสำหรับบทความนี้

คงต้องยอมรับว่า พวกประชาธิปัตย์เขาเซียนเรื่องกฎหมายจริง ๆ เป็นแบบนักกฎหมายเชิงปฏิบัติ แต่เพราะเน้นกฎหมายมาก จนทำให้พรรคประชาธิปัตย์ไม่เป็นที่ถูกใจคนไทยส่วนใหญ่ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องกฎหมาย เพราะเห็นว่าพรรคประชาธิปัตย์ทำงานเชื่องช้า เพราะเน้นหลักกฎหมายมากไป

ในขณะที่ทักษิณไม่ค่อยเน้นความถูกต้องตามกฎหมาย (เช่นกู้2.2ล้านล้าน) แต่เน้นรวดเร็วทันใจ เน้นผลงานเป็นรูปธรรมจับต้องได้ (แนววัตถุนิยม) และใช้โฆษณาประชาสัมพันธ์เชิงรุกใส่ประชาชน ทำให้เข้าตาคนที่ไม่ค่อยสนใจกฎหมายอย่างคนไทยจำนวนมาก

ส่วนพวกนักวิชาการที่เข้าข้างรัฐบาล ก็แค่พวกรู้แต่ในทฤษฎี แต่ไม่ได้ปฏิบัติและลุยจริงในสนามการเมือง จึงขาดมุมมองของจริงที่ซับซ้อนกว่า

ประหนึ่งเรียนดนตรีจนเก่ง แต่ไม่เคยขึ้นเล่นบนเวทีคอนเสิร์ตจริง ๆ


คลิกอ่าน เหตุผลที่ศาลรธน. ใช้รับเรื่องผู้ตรวจการแผ่นดิน กรณีการเลือกตั้งไม่ชอบรัฐธรรมนูญ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น