เกริ่น
ก่อนอื่นผมขอเล่าย้อนสักนิดว่า ผมเองก็ตัดสินช้าไปหน่อยว่า ผมจะไม่ไปเลือกตั้งวันที่ 2 ก.พ. เช่นกัน เพราะก่อนหน้านี้ ผมเคยนึกว่าผมจะไปเลือกตั้งแล้วกาช่องโหวตโนเหมือนกัน
จนมีเพื่อทางเฟสบุ้คถามผมมาว่า ควรไม่ไปเลือกตั้งหรือไปโหวตดี ?
ผมถึงได้มาเริ่มคิดว่า นั่นน่ะสิผมจะไม่ไปเลือกตั้ง (no vote) หรือผมจะไปใช้สิทธิโหวตโนดีกว่ากัน
แล้วผมก็ได้ข้อสรุปว่า ผมต้องไม่ไปเลือกตั้ง เพราะถ้าไปเลือกตั้งก็จะทำให้พวกรัฐบาลชั่วจะนำจำนวนผู้มาใช้สิทธิมาอ้างเป็นความชอบธรรมของตัวเอง และการไปใช้สิทธิของเราจะทำให้ไปลดความชอบธรรมของ กปปส. ลง (ซึ่งไอ้รัฐบาลชั่วมันก็นำมาอ้างจริง ๆ ตามที่ผมคาดไว้)
ผมจึงฟันธงไปว่า ต้องไม่ไปเลือกตั้ง และพอผมฟันธงไปแบบนี้ ก็มีเพื่อนในเฟสบุ้คที่อยู่ต่างประเทศบ่นว่า ทำไมถึงมาบอกช้าไป เพราะเพิ่งจะไปเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรไปแล้ว
ซึ่งผมได้เขียนเหตุผลรายละเอียดไว้ในบทความเมื่อวันที่ 25 มกราคม 57 เรื่อง 2 ก.พ.ควรไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือไม่ ? คลิกที่นี่
เช่นเดียวกัน ทางฝ่าย กปปส. ก็เพิ่งจะมารณรงค์ว่าไม่ควรไปเลือกตั้ง ซึ่งก็ช้าไปหน่อย คือประมาณก่อนเลือกตั้งสักเกือบ 2 อาทิตย์ได้
จึงทำให้ยังมีผู้คนจำนวนมากที่เข้าข้าง กปปส. แต่พวกเขาก็ยังไม่เข้าใจเหตุผลว่า ทำไมพวกเขาถึงไม่ควรออกไปเลือกตั้งครั้งนี้
อีกทั้งการศึกษาไทยได้ปลูกฝังเรื่องการเลือกตั้งในหัวคนไทยมานาน ทำให้คนไทยที่รักประชาธิปไตยทุกคนจึงเหมือนถูกฝังหัวว่า หน้าที่ของคนไทยที่ดีในระบอบประชาธิปไตยจึงต้องไปเลือกตั้งทุกครั้ง
ระยะเวลาที่จะเปลี่ยนแปลงความคิดคนไทยโดยฉับพลันจึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
เพราะเวลาเผยแพร่ข้อมูลและเหตุผลที่ไม่ควรไปเลือกตั้ง 2 ก.พ. กระทำการช้าเกินไปครับ ทำให้มีหลายคนไม่ทราบข่าวสารการรณรงค์ไม่ไปเลือกตั้ง ซึ่งยังมีอีกจำนวนมากเช่นกัน
--------------------------
วิเคราะห์ตัวเลขผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57
ตัวเลขที่ กกต. สรุปจำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง
การเลือกตั้ง 2 ก.พ. มีผู้มาใช้สิทธิทั้งสิ้น 47.72 % ของจำนวนผู้มีสิทธิทั้งหมด (ค่าเฉลี่ยเฉพาะเขตที่มีการเลือกตั้งได้ปกติ)
ตัวเลขนี้บ่งบอกอะไรได้บ้าง ?
ตัวเลข 46.79% บอกได้ทันทีที่เห็นคือ ยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งอีก 52.28 ที่นอนหลับทับสิทธิ ไม่มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้
ตัวเลขนี้ชี้ได้ทันทีว่า คนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง พวกเขาไม่ได้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนี้ จริงหรือไม่?
ลองเถียงสิว่าไม่จริง !!
ไม่ว่าคนส่วนใหญ่แต่ละคน เขาจะไม่มาด้วยเหตุผลใด ๆ ก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่า การเลือกตั้งครั้งนี้มีคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้งไม่ได้ออกมาเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย
เพราะการเลือกตั้งทั่วไปของไทยที่ผ่าน ๆ มา ๆ เป็นเวลาเกินกว่า 20 ปีขึ้นปี จะมีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งเกินกว่า 50 % มาโดยตลอด
เช่นการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554 ก็มีคนไทยออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งมากถึง 75.03% ซึ่งตัวเลขนี้ทำให้ยังสามารถอ้างได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังยอมรับการเลือกตั้งอยู่ ยังยอมรับระบอบประชาธิปไตยได้เต็มปาก เพราะมีคนออกมาใช้สิทธิมาถึง 75.03% ถือว่าเป็นเสียงส่วนใหญ่
แต่การเลือกตั้ง 2 ก.พ. นี้ กลับมีผู้มาใช้สิทธิเฉลี่ยแค่ 47.72% เท่านั้น ซึ่งอาจจะอ้างได้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ไม่ยอมรับระบอบประชาธิปไตยแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้แล้ว (จริงหรือไม่?)
ถ้าพวกรัฐบาลยิ่งลักษณ์ นายชูวิทย์ รวมทั้งนักวิชาการแดงสามารถอ้างว่า คน 20 ล้านคนมาใช้สิทธิเพราะเขารักประชาธิปไตยถึงออกมาเลือกตั้ง แล้วจะแอบอ้างถือเป็นความชอบธรรมของรัฐบาล ผมถือว่าเป็นตรรกะที่มั่วมาก
(เพราะรัฐบาลมันเหมารวมบัตรเสียกับโหวตโนเอามาเป็นพวกเดียวกับมันแบบหน้าด้านๆ ทั้ง ๆ ที่การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สามารถนำมาอ้างเป็นความชอบธรรมของรัฐบาลได้่ เพราะมันคนละบริบทกัน)
เพราะถ้าหากรัฐบาลเหมารวมแบบนี้ ถือเป็นความชอบธรรมของรัฐบาลได้แล้วล่ะก็
ผมก็สามารถอ้างด้วยตรรกะเดียวกันว่า คนที่เหลืออีกประมาณ 23 ล้านคนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ที่มีสิทธิเลือกตั้ง พวกเขาก็ล้วนแต่เบื่อการเลือกตั้งในกติกาแบบปัจจุบันนี้ และก็ไม่เอารัฐบาลนี้แล้วก็ได้เช่นกันจริงไหม ? เขาถึงไม่ออกมาเลือกตั้งเพื่อสนับสนุนแนวคิดของ กปปส.
ฉะนั้นเราควรจะเคารพคนส่วนใหญ่ที่เขาไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้งครั้งนี้ด้วย
และยิ่งถ้ารวมจำนวนคะแนนโหวตโนที่มากมายกว่าทุกครั้ง หรือรวมจำนวนบัตรเสียที่มีมากกว่าทุกครั้งเข้าไปด้วย ก็ยิ่งตอกย้ำว่า คนไทยในวันนี้เบื่อการเลือกตั้ง แต่ที่จำใจไปเลือกตั้ง เพราะไม่อยากเสียสิทธิ เสมือนเขาถูกบังคับกลาย ๆ
ลองไม่ต้องมีกฎหมายเรื่องเสียสิทธิสิ รับรองจะมีตัวเลขผู้ไม่ไปใช้สิทธิพิ่มขึ้นกว่านี้อีกมาก
------------------------
เปรียบเทียบเปอร์เซนต์ผู้มาใช้สิทธิปี 2554 กับปี 2557
ตัวเลขค่าเฉลี่ยผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2554 คือ 75.03 %
ตัวเลขค่าเฉลี่ยผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปเมื่อปี 2557 คือ 47.72 %
วิธีคิดร้อยละ ก็คือ จากคนใช้สิทธิ 75 คน ลดเหลือแค่ 47.7 คน เท่ากับลดไปประมาณ 37 %
การที่มีคนไปใช้สิทธิลดลง 37 % จากค่าเฉลี่ยเมื่อปี 2554 เดิมนั้น ก็เท่ากับหายไปเกือบครึ่งหนึ่งหรือ 50 % แล้ว (จากเดิม75คน) ขาดอีกเพียง 12 %เท่านั้นก็จะถึงครึ่งหนึ่ง
ผมมั่นใจว่า หาก กปปส. มีเวลามากกว่านี้เพื่อให้ข้อมูลและเหตุผลว่า ทำไมเราควรไม่ไปเลือกตั้งครั้งนี้ ผมมั่นใจว่า จะมีคนไม่ไปเลือกตั้งเพิ่มกว่านี้อีกไม่ต่ำกว่า 10 % แน่นอน
ฉะนั้น รัฐบาลอย่ามาอ้างมั่ว ๆ ว่า การที่มีคนออกมาเลือกตั้ง 20 ล้านคน ถือเป็นความชอบธรรมของรัฐบาล
เพราะยังมีคนอีก 23 ล้านคนซึ่งคือคนส่วนใหญ่ที่ไม่ออกมาเลือกตั้ง ซึ่งก็จะแปลได้เช่นกันว่า เพราะการเลือกตั้งนี้ไม่ชอบธรรมเขาถึงไม่ออกมาเลือกตั้ง
ไหนว่า ประชาธิปไตยต้องเคารพคนส่วนใหญ่ไง ?
ในเมื่อจำนวนคนไม่ไปเลือกตั้ง 23 ล้านคนซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ ไม่เอาการเลือกตั้ง การเลือกตั้งจึงสมควรเป็นโมฆะ จริงหรือไม่ล่ะ ชูวิทย์คิดสิคิด !!
แต่ที่แน่ ๆ กปปส. ชุมนุมในกรุงเทพ แล้วมีกรุงเทพออกมาใช้สิทธิเพียง 16.78% เท่านั้น (หากตัวเลขนี้ของ กกต.เป็นตัวเลขที่ถูกต้อง)
นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า การชุมนุมของ กปปส. ในกรุงเทพ คนกรุงเทพส่วนใหญ่ยอมรับให้ กปปส. ล้มระบอบทักษิณลง !!
-----------------
สรุป
ว่าคนส่วนใหญ่ไม่ต้องการการเลือกตั้งครั้งนี้
เมื่อมีคน 23 ล้านคนไม่ไปเลือกตั้ง บวกกับ คนที่จำใจไปเลือกเพื่อรักษาสิทธิแต่แสดงออกด้วยการจงใจทำบัตรเสีย!!
เมื่อนำไปจำนวนคน 23 ล้านคนและจำนวนใบเสีย ไปรวมกับคนที่ไม่ต้องการเลือกพรรคใดเลยแต่ไปเพื่อรักษาสิทธิและหน้าที่ ด้วยการไปโหวตโน ก็จะมีคนที่ไม่ชอบการเลือกตั้งครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้นเท่ากับ
23 ล้าน + 2.4 ล้าน (ใบเสีย) + 3.3 ล้าน (โหวตโน) = 28.7 ล้านคน !!
พรรคเพื่อไทยยอมรับจริงเถอะ ว่า พรรคของมึงน่ะมันเลวสุด ๆ แล้ว
--------
หมายเหตุ
บัตรเสีย ครั้งนี้หมายถึง จำใจไปใช้สิทธิแต่ไม่เอาการเลือกตั้ง
โหวตโน ครั้งนี้หมายถึง จำใจไปใช้สิทธิแต่ไม่เอาพรรคที่ลงเลือกตั้งเลย หรือไม่เห็นด้วยกับการเลือกตั้ง แต่ไม่อยากทำบัตรเสีย
และถ้าภาคใต้ไม่ได้ปิดหน่วยเลือกตั้ง จะมีจำนวนผู้ที่ไม่ไปเลือกตั้งมากกว่านี้แน่นอน เพราะจำนวน 23 ล้านคนที่ไม่ไปเลือกตั้งนั้น ยังไม่รวมจำนวนคนใต้ในหลาย ๆ จังหวัดครับ
คลิกอ่าน เลือกตั้ง 2 ก.พ. สรุปว่าคนกรุงเทพไม่เอาระบอบทักษิณ
คลิกอ่าน การเลือกตั้งไม่ชอบธรรมของรัฐบาลกบฏยิ่งลักษณ์ ต้องเป็นโมฆะแน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น