วันอาทิตย์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2556

แผนที่ 1 ต่อ 2แสน ของกัมพูชา ต้องเป็นโมฆะ







ปัญหาคดีเขาพระวิหาร มันเกิดจากฝ่ายไทยและกัมพูชา ถือแผนที่อ้างอิงคนละฉบับ โดยฝ่ายไทยใช้แผนที่ 1 ต่อ 50,000 และยึดถือเส้นสันปันน้ำเป็นหลัก ซึ่งเป็นไปตามหลักสากลปฏิบัติ

ในขณะที่ทางกัมพูชากลับไปอ้างอิงแผนที่ 1ต่อ 200,00 ระวางดงรัก ที่ฝรั่งเศสเขียนขึ้นแบบโกงๆ โดยที่ฝ่ายไทยก็ไม่เคยยอมรับ เพราะเป็นการบิดเบือนความเป็นจริงทางภูมิศาสตร์

แต่อาจเพราะช่วงนั้น ฝรั่งเศสมีอิทธิพลกร่างในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์มาก ทำให้ฝ่ายไทยเลยไม่ได้ออกมาคัดค้านอย่างเป็นทางการ จนทำให้เกิดกรณีกฎหมายปิดปากที่ศาลโลกเมื่อปี พ.ศ.2505 ใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินยกตัวปราสาทเขาพระวิหารให้กัมพูชาไป

ปัญหาคดีเขาพระวิหารกลับมาเป็นปัญหาอีกครั้งเมื่อ รัฐบาลนายชวนไปชวนกัมพูชามาลงนามข้อตกลง MOU43 ซึ่งเปิดโอกาสให้กัมพูชานำแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนเข้ามาใส่ในMOU43 ได้อีกครั้ง

ซึ่งจุดเริ่มต้นตรงนี้ ทำให้ฝ่ายกัมพูชาจึงได้ใจรุกคืบพยายามกินอาณาเขตของไทยมาตลอด ด้วยข้ออ้างที่ว่า ฝ่ายไทยได้ยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนของกัมพูชาแล้ว

จนกระทั่งเมื่อกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียว ซึ่งทางการไทยคัดค้านการขึ้นทะเบียนฝ่ายเดียวของกัมพูชามาโดยตลอด

เพราะการขึ้นทะเบียนมรดกโลกของกัมพูชาฝ่ายเดียวนั้น กัมพูชาคิดจะพ่วงเอาผามออีแดง สระตราว และสถูปคู่ ในฝั่งไทยไปด้วย

ซึ่งจนสมัยรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช ที่มีนายนพดล ปัทมะ เป็นรมว.ต่างประเทศ ก็ได้ทำการยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกได้เพียงฝ่ายเดียว โดยนายนพดลอ้างเองคนเดียวว่า กัมพูชาขอขึ้นเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น

ซึ่งถ้าขึ้นเฉพาะตัวปราสาทก็ไม่จำเป็นต้องมาขอให้ไทยเซ็นยินยอมหรอก เพราะตัวปราสาทเป็นของกัมพูชาอยู่แล้ว

แต่ในความเป็นจริง พอรัฐบาลสมัคร และนายนพดลไปเซ็นยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารฝ่ายเดียวแล้วน้้น

ฝ่ายกัมพูชาได้นำเอกสารยินยอมของรัฐบาลไทยไปใช้เป็นเอกสารในการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร แต่!! ประเด็นสำคัญมันอยู่ที่ว่า กัมพูชาได้พ่วงแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนซึ่งรวมเอาผามออีแดง สระตราว และสถูปคู่ ที่อยู่ในฝั่งไทยไปรวมด้วยเป็นพื้นที่โดยรอบของมรดกโลก

อธิบายง่ายๆ ก็คือ กัมพูชาใช้เอกสารยินยอมของนายนพดล แต่กลับไม่ใช้แผนที่ที่นายนพดลกล่าวอ้าง ว่าจะขึ้นเฉพาะตัวปราสาทเท่านั้น

ซึ่งต่อมาศาลโลกได้คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวเมื่อเดือนพ.ค.2554 โดยให้ทหารไทย และกัมพูชา ถอนทหารออกจากพื้นที่พิพาท 17.6 ตร.กม. (พื้นที่โดยรอบปราสาทที่กัมพูชานำไปขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วย)

ซึ่งทำให้ตอนนี้แม้แต่ผามออีแดง ที่คนไทยเคยขึ้นไปเที่ยวได้อย่างสบาย ก็ขึ้นไปเที่ยวอีกไม่ได้ พ่อค้าแม่ค้าไทยที่เคยขายของที่ระลึกบนผามออีแดงก็ขึ้นไปขายเหมือนเดิมไม่ได้ เพราะทหารไทยได้ถอนกำลังออกจากผามออีแดง ลงมาคุมเชิงด้านล่างแทนตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลโลก

ทั้งหมดทั้งปวงมันเป็นเพราะปัญหาแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนของกัมพูชาที่ไม่เป็นไปตามหลักสากลปฏิบัติแท้ๆ

แต่ในความเป็นจริงแล้วแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนของกัมพูชา ควรจะเป็นโมฆะ ไม่อาจนำมาอ้างอิงได้อีก ซึ่งถ้าทางไทยนำประเด็นนี้มาใช้ก็อาจจะทำให้คดีเขาพระวิหารของไทยชนะก็เป็นได้ครับ นั่นเพราะ

แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ของกัมพูชา ขัดกับรัฐธรรมนูญกัมพูชาเอง 

เพราะในมาตรา2 ของรัฐธรรมนูญกัมพูชา ได้ระบุว่า อาณาเขตของกัมพูชาต้องอ้างอิงตามแผนที่ 1 ต่อ 1 แสนเท่านั้น






---------------

คดีเขาพระวิหารได้ขึ้นศาลโลกครั้งแรกนั้น ซึ่งศาลโลกได้ตัดสินเมื่อพ.ศ.2505 หรือ ค.ศ.1962 นั้น ได้ตัดสินเฉพาะตัวปราสาท เพราะศาลโลกไม่มีอำนาจตัดสินเกี่ยวกับเขตแดน

ดังนั้นเมื่อมาถึงวันนี้ การที่กัมพูชาพยายามจะนำแผนที่ 1 ต่อ 2 แสนมาใช้อีกครั้งในศาลโลก เพื่อให้ศาลโลกตีความเรื่องเขตแดนตามแผนที่ 1 ต่อ 2 แสน จึงเป็นการขัดรัฐธรรมนูญของกัมพูชาเอง เพราะในรัฐธรรมนูญของกัมพูชาฉบับปัจจุบันได้ระบุชัดเจนในมาตรา2 ว่า

มาตรา2 ราชอาณาจักรกัมพูชามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและไม่สามารถละเมิดได้ ตามอาณาเขตที่อ้างอิงตามแผนที่อัตราส่วน 1/100,000 ที่จัดทำในปี ค.ศ.1933-1953 และได้รับการรับรองจากนานาชาติในปี ค.ศ.1963-1969 


ดังนั้น การที่กัมพูชาได้นำแผนที่ 1 ต่อ 2แสน เข้ามาใน MOU43 ในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัยของไทยนั้น จึงเป็นการกระทำผิดรัฐธรรมนูญของกัมพูชาเอง ยิ่งถ้านำไปใช้ในศาลโลกอีก เพื่อหวังได้เขตแดนมากขึ้น ก็ยิ่งนำไปใช้ไม่ได้เช่นกัน

เพราะอาณาเขตของกัมพูชา ต้องอ้างอิงตามแผนที่ 1 ต่อ 1 แสนเท่านั้น ตามรัฐธรรมนูญกัมพูชา


คลิกอ่าน ผลคดีเขาพระวิหาร ประชาธิปัตย์มีแต่เสียกับเสีย


คลิกอ่าน เอาชนะกัมพูชาในคดีเขาพระวิหาร ด้วยกฎหมายปิดปากคืน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น