วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2557

สุดยอดทัศนะ วสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ







คือตรรกะนักวิชาการแดง รวมไปถึงนายอุกฤษ มงคลนาวิน นักกฎหมายที่หันไปรับใช้ระบอบทักษิณ พยายามอ้างว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยว่า เรื่องยิ่งลักษณ์พ้นจากความเป็นนายกรัฐมนตรีได้อีก จากกรณีจากการโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนสี เหตุเพราะยิ่งลักษณ์ได้พ้นจากความเป็นรัฐมนตรีไปแล้ว หลังจากมีพระราชกฤษฎีการยุบสภา 2556

ทีนี้ลองฟังความเห็นของ นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญว่ามีความเห็นในเรื่องนี้อย่างไร จากรายการตอบโจทย์ 23 เม.ย. 57

"เห็นคนออกความเห็นว่า เขายุบสภา พ้นแล้ว เป็นแค่รักษาการ จริง ๆ ผมขอเรียนว่า คำว่า รักษาการ นี่ไม่มีนะ เพราะกฎหมายได้ระบุว่า ให้อยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ไม่ใช้คำว่า รักษาการ

เพราะฉะนั้น รัฐมนตรีทุกคนหลังยุบสภาแล้ว ก็ยังลงชื่อในฐานะนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรี ยังรับเงินเดือนรัฐมนตรี ยังรับเงินประจำตำแหน่ง ใช้รถประจำตำแหน่ง เฟอร์นิเจอร์ประจำตำแหน่ง ยังสั่งงานผู้ใต้บังคับบัญชาได้เหมือนปกติ เพียงแต่ถูกจำกัดอำนาจไปบางอย่างเท่านั้น

แต่เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลง นับแต่นั้นมาก็จะไม่ได้สิ่งเหล่านี้ เช่น เงินเดือนรับไม่ได้ จะไปเซ็นในตำแหน่งฐานะอะไรก็ไม่ได้ ทุกวันนี้ก็ยังเซ็นในฐานะนายกรัฐมนตรีอยู่ เมื่อไม่นานเห็นมีพระราชกฤษฎีกาออกมาฉบับนึง ก็ยังเซ็นในฐานะนายกรัฐมนตรีอยู่ ว่าเป็นผู้สนองพระบรมราชโองการ มันก็ไม่ได้ต่างอะไร เพราะไม่ได้ใช้คำว่า รักษาการ หรือพ้นแล้ว ไม่มี ก็ยังเหมือนเดิม ก็ยังสั่งการ ก็ยังสั่งประชุม ครม. ตามปรกติ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

คือถ้าเราแปลความว่า เมื่อยุบสภาแล้ว มีฐานะที่ชาวบ้านเรียกกันว่า รัฐบาลรักษาการ ถ้าแปลอย่างนั้นนะครับ ก็เท่ากับว่า ถ้าเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่เต็มตัว ทำผิดรัฐธรรมนูญไม่ได้ ต้องถูกศาลวินิจฉัย

แต่พอเป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ ทำผิดได้ !! ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย อย่างนั้นเหรอ ?

ถ้าคิดว่าตอนนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัย งั้นตอนนี้ก็ทำผิดรัฐธรรมนูญกันใหญ่โตเลย เพราะถือว่าพ้นแล้ว อย่างนั้นได้ไหม เราจะแปลความกฎหมายแบบนั้นหรือ"


เช่น ล่าสุด คือ

การลงนามรับสนองพระบรมราชโองคืนตำแหน่งเลขาธิการสภามั่นคงแห่งชาติให้แก่ นายถวิล เปลี่ยนสี ลงนามโดยนางสาว ยิ่งลักษณ์ ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เช่นเดิม เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2557

คลิกที่รูปเพื่อขยาย!!



ส่วนประเด็นถ้ายิ่งลักษณ์สิ้นสุดจากความเป็นรัฐมนตรี จะสิ้นสุดเพียงคนเดียว หรือสิ้นสุดทั้งคณะ

ท่านวสันต์ ตอบว่า "กฎหมายเขียนไว้ชัดเจนว่า ถ้านายกรัฐมนตรีทำผิดรัฐธรรมนูญ ความเป็นนายกฯ สิ้นสุดลง คณะรัฐมนตรีต้องพ้นทั้งคณะ เพียงแต่ผมยังไม่เห็นคำร้องของผู้ร้องว่า เขาร้องในประเด็นไหนบ้าง"

(ล่าสุด 7 พ.ค. 57 ศาล รธน. ได้ตัดสินให้ยิ่งลักษณ์พ้นสภาพการเป็นรัฐมนตรี และพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีทั้งคณะรัฐมนตรี แต่เฉพาะใน ครม.ยิ่งลักษณ์ 1 ที่ร่วมประชุมโยกย้ายคุณถวิล เท่านั้น)

-----------------


ฮิตเล่อร์ ก็มาจากการเลือกตั้ง

แต่ประเด็นที่ชอบมาก ก็เรื่องที่ท่านวสันต์ ได้ยกตัวอย่างก็คือ กรณีเรื่อง ฮิตเลอร์

"ฮิตเล่อร์ไม่ได้มาจากการรัฐประหาร แต่ฮิตเลอร์มาจากการชนะการเลือกตั้ง ถ้าใครไปถามฮิตเล่อร์ ฮิตเลอร์อาจตอบเหมือนที่บางคนตอบ "I come from election"

แล้วฮิตเล่อร์ มีอำนาจจากเสียงข้างมาก.นสภา เขาก็แก้กฎหมาย แก้รัฐธรรมนูญเพื่อเพิ่มอำนาจให้ตัวเอง แล้วจำกัดการตรวจสอบ จนตนเองเป็นเผด็จการ แล้วนำพาเยอรมันเข้าสู่งสงครามโลกครั้งที่ 2 จนเยอรมันหายนะ

เพราะฉะนั้นเยอรมันจึงกลัวมาก เรื่องเสียงข้างมาก พวกมากลากไปนี่เยอรมันกลัวมาก เขาจึงตั้งระบบศาลรัฐธรรมนูญขึ้นมา เพื่อควบคุมเสียงข้างมากว่า อย่าทำผิดรัฐธรรมนูญนะ

แล้วศาลรัฐธรรมนูญของเยอรมัน ไม่ต้องรอใครมายื่นคำร้องนะครับ แม้ไม่มีใครมายื่นคำร้องเลย ศาลเขาก็ไม่ว่างนะ เพราะศาลเขาก็นั่งดูเรื่อย ๆ ว่า สภากำลังทำอะไร รัฐบาลกำลังทำอะไร ถ้าศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันเขาเห็นว่ารัฐบาลหรือสภาทำผิด ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันเขาตั้งเรื่องได้เองนะครับ เรียกมาสอบถาม เรียกมาไต่สวน แล้วออกคำแนะนำ หรือออกคำบังคับได้เลย อำนาจเขาขนาดนี้นะครับ

ศาลรัฐธรรมนูญเยอรมัน สามารถหยิบเรื่องใดที่เห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญขึ้นมาวินิจฉัยได้เลย ถ้าเขาเห็นว่าเรื่องใดกำลังขัดรัฐธรรมนูญ"


ชัยชนะในการเลือกตั้งของฮิตเล่อร์ เมื่อปี 1933



ฮิตเล่อร์ได้คะแนนเสียงไปทั้งสิ้น 17,277,180 คะแนน คิดเป็น 43.91 % ของจำนวนผู้ออกมาใช้สิทธิลงคะแนนเสียง

-------------------------

โครงการจำนำข้าวกระทำผิดรัฐธรรมนูญ แต่ศาลก็รับคำร้องไม่ได้


ทีนี้ท่านวสันต์ จึงได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า มีกรณีที่สมัยที่ท่านยังเป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เคยเห็นด้วยกับกรณีที่มีผู้มายิ่นคำร้องว่า โครงการรับจำนำข้าวเป็นโครงการที่ขัดรัฐธรรมนูญจริง ๆ  แต่ศาลก็รับคำร้องจากผู้นั้นไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญไม่ได้เปิดช่องให้ยื่นคำร้อง


"ถ้าทบทวนหน่อยคงพอจะจำกันได้ เรื่องจำนำข้าวเคยมีอาจารย์ท่านนึงจากนิด้า ยื่นคำร้องว่า โครงการนี้ผิดรัฐธรรมนูญ ผมก็มองเห็นกันว่า มันก็น่าจะผิดรัฐธรรมนูญ เพราะว่า การจำนำนี้มันไม่ใช่การจำนำ เพราะนี่มันเป็นการตั้งโต๊ะรับซื้อ เมื่อรับซื้อสูงกว่าราคาตลาด มันก็เท่ากับเป็นการผูกขาด เมื่อเป็นการผูกขาดก็เท่ากับเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ

เพราะรัฐธรรมนูญบังคับว่า รัฐบาลต้องส่งเสริมการค้าเสรี ตัดการผูกขาด แต่นี่รัฐบาลผูกขาดซะเอง เพราะฉะนั้นเขาก็มายื่นคำร้อง ซึ่งเราก็เห็นว่ารัฐบาลกระทำไม่ถูกรัฐธรรมนูญ แต่ !!

แต่ผู้มายื่นไม่มีช่องทางให้ยื่น เมื่อไม่มีช่องทางให้ยื่น ศาลก็รับคำร้องมาพิจารณาไม่ได้ นั้นคือตัวอย่างนะครับว่า เราไม่ได้รับคำร้องของอาจารย์ ทั้ง ๆ ที่เห็นชัดว่ารัฐบาลกระทำผิดรัฐธรรมนูญ แต่นี่เขาไม่มีประตูเข้า (รัฐธรรมนูญไม่ได้เปิดช่องให้ยื่นได้)"


รัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 43 ห้ามการผูกขาดการค้า



นี่จึงถือเป็นข้อบกพร่องหนึ่งในรัฐธรรมนูญ 50 ที่มีช่องให้รัฐบาลกระทำผิด รธน. แต่กลับไม่มีช่องทางเอาผิดรัฐบาล


** คลิกอ่านข่าว ศาล รธน. ยกคำร้องโครงการจำนำข้าวขัด รธน.


-------------------------

กรณี พ.ร.บ. กู้ 2 ล้านล้านบาท เปรียบเทียบกับ พรก.ไทยเข้มแข็ง

ให้ดูคลิปนาทีที่ 20.10 เป็นต้นไป

(แต่สรุปคร่าว ๆ ว่า จะเอา พ.ร.บ.กู้ 2 ล้านล้าน มาเทียบกับ พรก.ไทยเข้มแข็ง ของประชาธิปัตย์ไม่ได้ ถ้าจะเทียบต้องไปเทียบกับ พรก.กู้แก้ปัญหาน้ำ 3.5 แสนล้านของรัฐบาล ที่ศาลตัดสินว่า พรก.กู้ 3.5 แสนล้านของรัฐบาลก็ไม่ขัดรัฐธรรมนูญเช่นกัน)

---------------------------

ส่วนประเด็นเรื่องที่นายอุกฤษ มงคลนาวิน โจมตีเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีกฎหมายลูก คือ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีของศาล รธน. จึงไม่มีสิทธิว่าคดี

ให้ดูในนาทีที่ 13.30 เป็นต้นไปว่า ท่านวสันต์ ตอบในเรื่องนี้ว่าอย่างไร






จริง ๆ แล้ว ท่านวสันต์ได้ตอบในอีกหลายประเด็นที่น่าสนใจทั้งนั้น ถ้าใครว่างก็ลองดูคลิปทั้งหมดนะครับ


คลิกอ่าน สถานภาพนายกรัฐมนตรีของยิ่งลักษณ์ จะสิ้นสุดได้หรือไม่ ?


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น