วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ตรรกะอคติของสมศักดิ์ เจียม กรณีในหลวงกับจอมพลสฤษดิ์






นายสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล หรือหงอกเจียม มักอ้างเรื่อง ในหลวงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งจอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้รักษาพระนคร หลังจากจอมพลสฤษดิ์ ได้ทำรัฐประหารจอมพล ป. ลงไป โดยไม่มีผู้สนองรับพระราชโองการ



แล้วหงอกเจียมยังกล่าวหาว่า ในหลวงทรงกระทำผิดรัฐธรรมนูญ เพราะรัฐธรรมนูญฉบับ 2495 ยังกำหนดว่า พระบรมราชโองการจะต้องมีผู้รับสนองฯ

หงอกเจียม ยังพยายามโยงอีกว่า ในหลวงทรงสนับสนุนให้จอมพลสฤษดิ์ทำรัฐประหารจอมพล ป.

ซึ่งหากคนที่เกิดไม่ทันอย่างผม ไม่เคยอ่านประวัติศาสตร์ก็ย่อมเชื่อนายสมศักดิ์ เจียม ได้โดยง่าย

แต่หากหาข้อมูลย้อนกลับไป เราจะพบว่า การเลือกตั้งทั่วไป ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 คือ การเลือกตั้งที่มีการโกงที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย จนทำให้พรรคการเมืองของจอมพล ป. คือ พรรคเสรีมนังคศิลา ได้รับชัยชนะท่วมท้นด้วยวิธีการสกปรก

ซึ่งผลการเลือกตั้งในครั้งนั้น ไม่เป็นที่ยอมรับของประชาชนและนักศึกษา จนวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500 นิสิตจุฬาฯ  นักศึกษาธรรมศาสตร์ และประชาชนได้ออกมาประท้วงผลการเลือกตั้งครั้งนี้

ส่วนจอมพล ป. ก็รีบประกาศภาวะฉุกเฉินทันที แล้วสั่งให้จอมพลสฤษดิ์ ซึ่งเป็น ผบ.ทบ. ในขณะนั้นออกไปควบคุมสถานการณ์

แต่จอมพลสฤษดิ์ กลับไปเข้าข้างประชาชนและนักศึกษา ด้วยการถอดหมวกโบกให้ผู้ชุมนุม โดยกล่าวว่า ทหารจะไม่ทำร้ายประชาชน

ซึ่งได้สร้างกระแสความนิยมในตัวจอมพลสฤษดิ์จากประชาชนได้มากมาย

จนในที่สุด ทำให้ จอมพล ป. ต้องจำยอมรับว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมามีการโกงจริง ๆ และประกาศว่าจะให้มีการเลือกตั้งใหม่

แต่ต่อมาเหตุการณ์ประท้วงของนักศึกษาและประชาชนได้ขยายตัวและบานปลายจนกลายเป็นความขัดแย้งกันระหว่างกลุ่มทหาร ซึ่งนำโดยจอมพลสฤษดิ์ กับกลุ่มตำรวจ ซึ่งนำโดยพลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ ที่ค้ำอำนาจให้กับจอมพล ป. พิบูลสงคราม

ในที่สุดจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกจึงได้ทำการการรัฐประหารรัฐบาลจอมพล ป. ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2500 แล้วจอมพลสฤษดิ์ก็ขึ้นเป็นผู้ใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีนับตั้งแต่วันนั้นในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหาร และขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในปีต่อมา

ซึ่งในยุคจอมพล ป. บ้านเมืองมีอันธพาล โจร และผู้มีอิทธิพลเต็มบ้านเต็มเมือง โดยภายหลังการรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ก็ได้เข้ามาปราบปรามพวกนี้ได้จนเป็นที่พอใจของประชาชน

อีกสาเหตุหนึ่งคือ รัฐบาลจอมพล ป. พยายามริดรอนพระราชอำนาจพระมหากษัตริย์และควบคุมการใช้จ่ายในทรัพย์สินส่วนพระองค์ ตลอดจนไม่ค่อยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเสด็จเยี่ยมเยียนราษฎรของในหลวง จนทำให้ประชาชนจำนวนมากสั่งสมไม่พอใจรัฐบาลจอมพลป. มานานพอควร จนนำพาไปสู่การรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ในที่สุด

พอจอมพลสฤษดิ์ มีอำนาจก็ได้คืนพระราชอำนาจในหลาย ๆ เรื่องมาจนวันนี้ รวมทั้งยังเริ่มต้นสนับสนุนโครงการในพระราชดำริต่าง ๆ นับแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

-----------------

ฉะนั้นประเด็นความขัดแย้งระหว่าง จอมพล ป. และ จอมพลสฤษดิ์ นั้นมีมูลเหตุที่มีที่มาที่ไปของพวกเขาเอง ซึ่งไม่เกี่ยวกับในหลวงแต่อย่างใด

ส่วนพระบรมราชโองการที่ไม่มีผู้รับสนองฯ ที่สมศักดิ์ เจียม ชอบยกมาเป็นประเด็นโจมตีนั้น

เผอิญผมได้เจอบทความหักล้างจากเว็บเจ้าพระยา เขาได้เขียนถึงประเด็นนี้ว่า เพราะเหตุใด ถึงมีพระบรมราชโองการที่ไม่มีผู้รับสนองฉบับนั้นได้

คลิกอ่าน ประวัติศาสตร์ที่(สมศักดิ์ เจียมธีระสกุล)เพิ่งสร้าง (๒) ตอน พระบรมราชโองการที่ไร้ผู้รับสนองฯ

--------------------------


ตรรกะอคติของสมศักดิ์ เจียมที่พยายามโยงจอมพลสฤษดิ์โกง แต่ในหลวงทรงยังมีพระเมตตาต่อสฤษดิ์ ประหนึ่งในหลวงทรงสนับสนุนคนโกง

คือ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม้จะเป็นเผด็จการ แต่ก็ได้ใจประชาชนในยุคนั้นไปไม่น้อย รุ่นพ่อแม่เล่าให้ฟังมากมาย ว่าบ้านเมืองเป็นระเบียบเรียบร้อยขนาดไหน

สำหรับผมนะ ผมไม่พอใจเรื่องเดียวเกี่ยวกับสฤษดิ์คือ ดันโง่ไปสู้คดีเรื่องเขาพระวิหารกับเขมร ซึ่งผมเขียนไว้ในบทความเก่า ๆ

ซึ่งจอมพลสฤษดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนเดียวที่เสียชีวิตในขณะยังดำรงตำแหน่งนายกฯ

ทีนี้มาถึงประเด็นที่ สมศักดิ์ เจียม พยายามจะโยงคือ ในหลวงเสด็จไปเยี่ยมจอมพลสฤษดิ์ ก่อนที่จะเสียชีวิตไม่กี่วันอย่างใกล้ชิด และยังทรงมีพระเมตตากับครอบครัวของจอมพลสฤษดิ์เป็นอย่างมาก


ในหลวงเสด็จเยี่มจอมพลสฤษดิ์ ที่โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

อีกทั้งหงอกเจียมยังพยายามเปรียบเทียบว่า ในหลวงทรงมีพระราชดำริให้รัฐบาลถนอมจัดงานพระราชทางเพลิงศพแก่จอมพลสฤษดิ์สูงกว่าผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

นี่คือวิธีการเดิม ๆ ของหงอกเจียมใช้คือการพูดความจริงไม่หมด เพราะผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ก็มีทั้งสามัญชนและพระราชวงศ์ ถ้าเป็นพระราชวงศ์ก็จัดตามพระเกียรติไป

ถ้าจอมพลสฤษดิ์ ซึ่งเป็นนายทหารระดับสูงสุดคือชั้นจอมพล แถมยังเป็นนายกรัฐมนตรี แถมยังเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด เป็นผู้บัญชาการทหารบก ที่สร้างประโยชน์ให้กับแผ่นดินอยู่มาก โดยเฉพาะหลังจากที่จอมพลสฤษดิ์มีอำนาจ ก็ได้สนับสนุนโครงการตามพระราชดำริฯ เป็นอย่างดี ดังนั้นถ้าจอมพลสฤษดิ์จะได้รับพระเมตตาอย่างสูงเป็นพิเศษ จะแปลกตรงไหน?

แล้วงานศพจอมพลสฤษดิ์สูงกว่าผู้แทนพระองค์ที่เป็นสามัญชนคนไหนล่ะ  หงอกเจียมก็ไม่ยกตัวอย่างมา

หงอกเจียมเป็นพวกมีอคติ ขี้อิจฉาริษยา ชอบคิดเล็กคิดน้อย คอยหาเรื่องสร้างความแตกแยกโดยสันดานและหน้าตา จึงเป็นคนก็ชอบคิดอะไรชั่ว ๆ แบบนี้แหละ 


ายหลังการเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ์ รัฐบาลจอมพลได้มีการยึดทรัพย์จอมพลสฤษดิ์ เป็นเงิน 600 ล้านบาท เพราะช่วงที่ท่านมีอำนาจ สฤษดิ์ก็โกงไว้เยอะพอควร

ซึ่งคนไทยในสมัยนั้น ต่างก็รู้ดีว่า สฤษดิ์ก็โกง แถมมีเมียน้อยเยอะแยะ แต่ก็อดชื่นชอบชื่นชมในตัวนายกรัฐมนตรีคนนี้ในบางเรื่องไม่ได้ แม้แต่อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ก็ยังเคยไปทำงานให้รัฐบาลของจอมพลสฤษดิ์ เลย

ฉะนั้น แม้จอมพลสฤษดิ์จะโกง แต่ในส่วนดีของเขาก็ย่อมมี ไม่งั้นอาจารย์ป๋วยก็คงไม่ยอมไปทำงานด้วย

และเมื่อจอมพลสฤษดิ์ตายและหมดอำนาจลง ต่อมาก็ท่านก็ถูกยึดทรัพย์สิน จึงไม่แปลก เพราะในส่วนแย่ของท่าน ท่านก็โกงกินเหมือนพวกนักการเมืองและพวกทหารในยุคนั้นเหมือน ๆ กัน เพียงแต่ว่าจะถูกจับโกงได้หรือไม่ได้เท่านั้น

หรือเมื่อถูกจับโกงได้ แล้วยังจะหน้าด้านแถเพื่อทำลายชาติบ้านเมืองให้เกิดความแตกแยกหรือไม่ ซึ่งยุคนั้นการคอร์รัปชันไม่แตกต่างอะไรกับประเทศไทยในยุคดิจิตอลมากนัก

เพียงแต่คนเป็นนายกรัฐมนตรีย่อมมีโอกาสโกงได้มากกว่า แถมเป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลเผด็จการเมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว มันยิ่งมีเงินทองผลประโยชน์มหาศาลหลั่งไหลเข้ามาในกระเป๋าได้ไม่ยาก

คนเราต้องรู้จักแยกแยะดีชั่ว ในส่วนดีของจอมพลสฤษดิ์ก็มีมาก ซึ่งคนไทยยุคนั้น จะเข้าใจดีว่า จอมพลสฤษดิ์ มีดี มีเลวอย่างไร

เราคนไทยต้องหัดมองคนใน 2 ด้าน แยกแยะความดี ส่วนความดี ความชั่วก็ส่วนความชั่ว

ทำดีก็ย่อมได้รับการชื่นชมยกย่อง แต่ถ้าทำชั่วสมควรได้รับการลงโทษ

ในยุคที่จอมพลสฤษดิ์ยังมีอำนาจอยู่ ก็ยากที่จะเล่นงานท่าน

แต่เมื่อท่านหมดอำนาจ ก็ย่อมถูกตรวจสอบได้ทันที  ไม่มีอะไรผิดแปลกจากการเมืองในประเทศอื่น ๆ และไม่ผิดจากนายกรัฐมนตรีในระบบเลือกตั้งอย่างทักษิณ ที่มีทั้งดีและเลว อยู่ที่ว่า ในขณะมีชีวิตมีความดีหรือความเลวมากกว่ากัน

แล้วเมื่อถูกจับผิดได้ ยังจะหน้าด้านแถ ยุยุงผู้คนที่สนับสนุนตัวเองให้เผาบ้านเผาเมืองเพื่อทวงทรัพย์สินที่ถูกยึดไปคืนมาหรือไม่

ความเป็นลูกผู้ชายของผู้มีอำนาจทางการเมือง เขาวัดกันตรงนี้ว่า ทำผิดแล้วกล้ายอมรับผิดหรือไม่ หรือ ผิดแล้วยังจะหน้าด้านจะเอาเงินคืนจนทำร้ายชาติบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเองต่อไป

อย่างทักษิณมีนโยบายบางเรื่องถูกอกถูกใจคนไทยอย่างมาก แต่เราจะชื่นชมจนปล่อยให้ทักษิณทำชั่วได้โดยไม่เอาผิด ก็ย่อมไม่ถูกต้อง

กรณีทักษิณก็เคยได้รับพระราชทานน้ำสังข์ในพิธีมงคลสมรสจากในหลวง ก็เหมือนที่จอมพลสฤษดิ์ได้รับพระเมตตาก่อนตายจากในหลวง เช่นกัน




แต่หงอกเจียม พยายามจะโยงว่า ในหลวงมีพระเมตตาต่อสฤษดิ์อย่างมาก ทั้ง ๆ ที่ต่อมาตรวจสอบได้ว่า สฤษดิ์ก็คนโกงคนนึง เพื่อจะโจมตีในหลวงว่า เมตตาคนผิด 

นี่คือ ความโง่ของตรรกะของหงอกเจียมโดยแท้ แต่ก็มีสาวกที่หลงเชื่อตรรกะโง่ ๆ เช่นนี้

ที่จริง จากกรณีจอมพลสฤษดิ์นั้น ทำให้เราสามารถมองได้อีกมุมว่า ใครก็ตามที่ทำผิด แม้จะเคยได้รับพระมหากรุณาธิคุณล้นพ้นอย่างไร ก็ไม่อาจพ้นความผิดและพ้นโทษไปได้ แม้จะตายไปแล้วก็ตาม

อย่างผมเอง เคยเลือกพรรคไทยรักไทยถึง 2 สมัย  เพราะชอบทักษิณมาก แต่ต่อมาผมก็ต่อต้านทักษิณสุด ๆ แบบนี้ตรรกะโง่ ๆ ของสมศักดิ์เจียม ก็คงใช้กับผมไม่ได้แน่นอน

เพราะคนเราอาจเคยชอบหรือเคยสนับสนุนใคร จะแปลว่าเราต้องสนับสนุนคนนั้นไปตลอด จนปล่อยให้เขาทำผิดโดยไม่รับโทษ เพราะความชอบความลำเอียงนั้น มันไม่ใช่ !!

หงอกเจียมแก่จนฟันจะหมดปากแล้ว ยังแยกแยะดีชั่วถูกผิดไม่ได้เลย


-------------------

คำแนะนำท้ายบทความ

ถ้าเราวางใจเป็นกลาง แล้วหัดดูซีรีย์เกาหลี ซีรีย์จีน ที่เกี่ยวกับราชวงศ์ต่าง ๆ พยายามสังเกตศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างฮ่องเต้กับขุนนาง การแย่งชิงอำนาจ การโกงกินของขุนนาง และการแย่งชิงราชบัลลังค์โดยฝ่ายขุนนางอยู่เบื้องหลัง การใส่ร้ายป้ายสีเชื้อพระวงศ์เพื่อผลัดขั้วอำนาจ

เมื่อเราดูซีรีย์เกาหลีจำพวกนี้มาก ๆ ดูแล้วรู้จักแยกแยะดีชั่ว ไม่ใช่โยงกันมั่วแบบพวกมีอคติ แล้วเราก็จะไม่โง่เหมือนสมศักดิ์ เจียมธีรสกุล และสาวก

เรื่องพวกนี้ หากมีอคติแล้ว ย่อมมองแต่ในมุมมองคับแคบเหมือนหงอกเจียมนั่นเอง


คลิกอ่าน ตรรกะโง่เลวของสมศักดิ์ เจียม  กรณีเจ้าสัวซีพีกับในหลวง 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น